เคล็ดลับการดูแลตนเองในช่วงการระบาดของ COVID-19 Part 6

          สวัสดีครับ กลับมาพบกับบทความเคล็ดลับการดูแลตนเองในช่วงการระบาดของ COVID-19 ในตอนนี้ก็เป็น Part 6 ที่เป็น Part สุดท้ายครับ ก่อนหน้า เราได้ทิ้งท้ายกันไว้ที่ ในช่วงนี้เรากำลังประสบกับปัญหาที่ยากลำบาก การลองรับคำปรึกษาหรือเข้าบำบัดสุขภาพจิต ก็อาจจะช่วยลดความวิตกกังวลได้ และในบทความนี้เราก็จะมาดูกันอีกว่ามีอะไรอีกบ้างครับ

          ความวิตกกังวลสามารถเป็นผลดีต่อสุขภาพได้ ถึงแม้เราจะคิดว่าความวิตกกังวลและสภาวะจิตเชิงลบต่าง ๆ ไม่ได้ส่งผลดีต่อเรา ทำให้เราอยากที่จะขจัดมันออกไป Carmichael ได้กล่าวว่า “ความวิตกกังวลสามารถแปลเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพได้ เราจะไม่มีความวิตกกังวลเลย ถ้าไม่มีไม่เป้าหมายที่อยากทำให้สำเร็จ” ความวิตกกังวลที่เรามี อาจจะเป็นการส่งสัญญาณให้เราเตรียมตัวก่อนที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การนำเสนอผลงานในที่ประชุม การที่เราทำกิจกรรมที่เราไม่เคยทำมาก่อน หรือ กำลังกังวลกับงานที่ทำค้างไว้อยู่

          Aromatherapy กลิ่นบางอย่างสามารถมีผลทำให้ร่างกายเรารู้สึกสงบลงได้ จากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine ปี ค.ศ. 2017 ได้วิเคราะห์ศึกษาผลของ Aromatherapy ที่มีต่อโรคซึมเศร้า พบว่า Aromatherapy ช่วยบรรเทาผู้เข้าร่วมการทดลองได้ และวิธีที่ได้ผลมากที่สุดคือ การนวดโดยใช้น้ำมันหอยระเหยกลิ่นต่าง ๆ เช่น ลาเวนเดอร์ จัสมิน เลมอนบาล์ม คลารี่ เสจ และเบอกาม็อท

          การจุดไฟในเตาผิง จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Energy Research & Social Science ปี ค.ศ. 2020 ของผู้คนเกือบ 150 คนในสวีเดนที่มีเตาผิง พวกเขามักจะทำการ Trivseldning หรือ การจุดไฟให้ความอบอุ่น ในตอนท้ายของวัน เพื่อสร้างบรรยากาศของความสุขและความมีชีวิต ในการศึกษาได้รายงานถึงการเชื่อมโยงของไฟกับลักษณะต่าง ๆ เช่น ความสามัคคี ความสงบ ความสุข และความยินดี

          หากที่ที่เราอยู่ไม่มีเตาผิง เราสามารถเปิดวิดีโอเตาผิงที่มีเสียงใน YouTube บนทีวีหรือคอมพิวเตอร์ของเราแทนได้เช่นกัน

          การทำสปาเล็บเท้า Dalton ได้กล่าวว่า “การที่เราดูแลร่างกายของเราแบบหรูหราสามารถช่วยให้เรามีสุขภาวจิตที่ดีได้” การทำสปาเล็บเท้าถือเป็นความคิดที่ไม่เลว มีบทความแนะนำและเคล็ดลับ DIY ต่าง ๆ สำหรับการทำสปาเล็บเท้าที่บ้านซึ่งเราสามารถหาได้ง่าย ๆ ในอินเทอร์เน็ต

          การมาส์กหน้า การมาส์กหน้ามีประโยชน์ต่อผิวของเรา โดยเมื่อเราทำการมาส์กหน้าส่วนผสมก็ซึมเข้าไปในผิวอย่างช้า ๆ จนกว่าเราจะเอาที่มาส์กออก ซึ่งเราสามารถลองใช้อาหารจากในครัวของเรามามาส์กหน้าได้ เช่น การนำข้าวโอ๊ตและขมิ้นมามาส์กหน้า ข้าวโอ็ตกับอาโวคาโด หรือสูตรน้ำผึ้งก็ไม่เลว

          การอาบน้ำอุ่น ทำไมตอนที่เราอาบน้ำอุ่นทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายได้? จากการวิจัยชี้ให้เห็นว่าเหตุผลหนึ่งที่เป็นแบบนั้นเพราะการอาบน้ำอุ่น อาจจะช่วยลดการอักเสบได้ จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Applied Physiology ในปี ค.ศ. 2018 ได้พบกว่า การอาบน้ำร้อนเพียงแค่ครั้งเดียวก็สามารถลดการตอบสนองต่อความเครียดลงได้ และอีกเหตุผลคือมันช่วยให้เราผ่อนคลายได้

          การใช้ไหมขัดฟัน Tripti Meysman ผู้ก่อตั้งศูนย์ทันตกรรม CityTooth ได้กล่าวว่า การใช้ไหมขัดฟันเป็นอะไรที่หลาย ๆ คนมองข้าม แต่เธอบอกว่ามากสำคัญมากกว่าสุขภาพในช่องปากเสียอีก การใช้ไหมขัดฟัน (ร่วมกับการแปรงฟันและการทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี) ช่วยลดปริมาณแบคทีเรียในร่างกายอีกด้วย สมาคมทันตกรรมอเมริกัน ได้ระบุว่า แบคทีเรียกว่า 500 สายพันธุ์สามารถพบได้ในคราบหินปูน Dr. Meysman กล่าวว่า ถึงแม้ว่าการใช้ไหมขัดฟันจะไม่สามารถกำจัดคราบหินปูนได้อย่างสมบูรณ์ แต่มันก็สามารถช่วยให้สุขภาพในช่องปากของเราโดยรวมดีขึ้นได้

การเลี้ยงสัตว์เลี้ยง การเล่นหรือการดูแลสัตว์เลี้ยงของเราสามารถช่วยคลายความวิตกกังวลของเราได้ มีหลักฐานว่าการใช้เวลาเล่นกับสุนัขอาจจะช่วยลดความเครียด เพิ่มพลังงานและเพิ่มความสุขให้เราตัวเราได้ รวมไปถึงยังช่วยให้เราได้รับการสนับสนุนทางสังคมมากขึ้น

การนัดพบแพทย์ การระบาดใหญ่ของไวรัสทำให้เราหลาย ๆ คนลืมการดูแลรักษาพยาบาลตามปกติ คำถามคือ ครั้งล่าสุดที่เราได้นัดตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีคือตอนไหน? ถ้าหากเราไม่ได้นัดหมายตามเวลาที่กำหนดไว้ ในช่วงนี้ก็ลองจัดตารางและนัดพบแพทย์ดู

เขียนโดย Akiraz

KAI

อ้างอิงจาก Sarah DiGiulio และ Elizabeth Millard (2021) 69 Top Self-Care Tips for Taking Care of You During the Coronavirus Pandemic, Available at: https://www.everydayhealth.com/wellness/top-self-care-tips-for-being-stuck-at-home-during-the-coronavirus-pandemic/ (Accessed: 21th September 2021).

อ้างอิงจาก Dalinda Sanchez, Shirley P C Ngai, Aaron He, Jason Ka-Wing Chow, Benson, Wui-Man Lau และ Hector W H Tsang (2017) The Effectiveness of Aromatherapy for Depressive Symptoms: A Systematic Review, Available at: https://www.hindawi.com/journals/ecam/2017/5869315/ (Accessed: 21th September 2021).

อ้างอิงจาก Bodil Karlsson, Maria Håkansson, Jonas Sjöblom และ Henrik Ström (2021) Light my fire but don’t choke on the smoke: Wellbeing and pollution from fireplace use in Sweden, Available at: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2214629620302711 (Accessed: 21th September 2021).

อ้างอิงจาก S. P. Hoekstra, N. C. Bishop, S. H. Faulkne, S. J. Bailey และ C. A. Leicht (2018) Light my fire but don’t choke on the smoke: Wellbeing and pollution from fireplace use in Sweden, Available at: https://journals.physiology.org/doi/full/10.1152/japplphysiol.00407.2018 (Accessed: 21th September 2021).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *