Social Banking แอพทำธุรกรรมครบเครื่องในแอพเดียว


Social banking คือบริการธนาคารออนไลน์บนแอพโซเชียลมีเดีย เป็นโมเดลธุรกิจที่ธนาคารจับมือกับบริษัท เทคโนโลยีเจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ความร่วมมือระหว่างธนาคารกับ Super app ชั้นนำที่มีทุกอย่างครบในแอพเดียว จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งในระยะยาวให้ธนาคารจากการแชร์ข้อมูลกับพันธมิตร ทำให้ Social banking สามารถให้บริการทางการเงินกลุ่มลูกค้าที่ยังเข้าไม่ถึงธนาคารเพราะไม่มีบัญชีเงินฝาก หรือกู้ไม่ได้ เพราะไม่มีเอกสารยืนยันรายได้

อ้างอิงภาพจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/PublishingImages/Pages/Article_02Nov2020/social-banking-cover.jpg

การจับมือกันแบบ win-win 

ในปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคคุ้นเคยกับเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ใช้เวลาบนโลกโซเชียลนานขึ้น ชอบความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมการเงินดิจิทัลได้ครบในแอพเดียว จึงเข้ามาตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าวงกว้างกว่า ใช้สะดวกกว่า ผลิตภัณฑ์น่าใช้และโดนใจกว่า โดยจะมีการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมผู้ใช้งานแอพแต่ละรายเชิงลึก เพื่อคำนวณคะแนนเครดิตของผู้ใช้แอพแต่ละคนด้วยระบบประมวลผลแบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence: AI) ทำให้รู้ถึงความเสี่ยงในการกู้เงินและความสามารถในการชำระคืนเงินได้ง่าย

ผู้บริโภคได้ประสบการณ์ตอบโจทย์ดีขึ้น

ผู้บริโภคก็จะได้รับความสะดวกสบายขึ้น ไม่ต้องออกจากโซเชียลแพลตฟอร์มที่กำลังใช้งานอยู่ไปเข้าแอพ mobile banking ของธนาคารโดยตรงเพื่อทำธุรกรรมการเงิน แต่สามารถใช้บริการธนาคารเต็มรูปแบบได้ใน Super app เลย ทำให้ได้รับประสบการณ์การใช้บริการที่ตอบโจทย์กว่า คนที่อยากกู้เงินก็เข้าถึงแหล่งเงินกู้ง่ายขึ้น ช่วยลดการกู้ นอกระบบดอกเบี้ยแพงมาก แถมยังเสี่ยงต่อการถูกติดตามทวงหนี้ที่อาจไม่ค่อยปลอดภัยได้อีกด้วย

แม้ Social banking จะช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นในโลกดิจิทัล แต่ความรู้ทางการเงินและวินัยทางการเงินของผู้บริโภคก็ยังเป็นหัวใจสำคัญอยู่ดีหากมองในมุมที่ผู้บริโภคเข้าถึงบริการทางการเงินง่ายขึ้น แบงก์ปรับตัวให้บริการ ธนาคารเชิงรุกขึ้น แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่อยอดโมเดลธุรกิจเชื่อมโยงกับบริการธนาคาร ช่วยให้คนในประเทศลดต้นทุน การทำธุรกรรมการเงินหรือต้นทุนการกู้เงินได้ก็ดูเหมือนจะวิน-วินกันทุกฝ่าย แต่หากมองอีกด้าน ธรรมาภิบาลในการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลที่ทำให้กลุ่มธุรกิจรู้จักตัวตนของคน ๆ หนึ่งได้ดีกว่าเจ้าตัว จะเป็นสิ่งสำคัญมาก การนำเทคโนโลยี AI มาใช้เน้นนำเสนอข่าวสาร ข้อมูล หรือผลิตภัณฑ์ที่ถูกจริตโดนใจผู้ใช้แอพบ่อย ๆ ก็คล้ายกับเราดูโฆษณาขายของในทีวีซ้ำไปซ้ำมา ทั้งวันจนสุดท้ายก็อาจมีผลเปลี่ยนพฤติกรรมเราให้ใช้จ่ายเพลินหรือยืมเงินไว จนก่อหนี้เกินตัวโดยไม่รู้ตัวได้ 

อ้างอิงบทความจาก ดร.ฐิติมา ชูเชิด (2020) Social banking…ธนาคารออนไลน์ใกล้ๆ ตัว, Available at: https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_02Nov2020.pdf (Accessed: 20 November 2020).

สรุปสาระสำคัญจาก ภูมิ

บทความอื่น ๆ : Economics & Finance Archives – (kamonnat-ai.com)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *