ย้อนรอยอดีต นโยบายเศรษฐกิจไทย


นโยบายเศรษฐกิจไทย ที่มีประสิทธิผลและมีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศไทย มีอยู่ หลายนโยบาย แต่จะขอยกตัวอย่างในที่นี้ 4 นโยบาย โครงการ ด้วยกัน ได้แก่

อ้างอิงภาพจาก https://www.chumchonthai.or.th/sites/default/files/images/ctfnews/0000-y50-web.jpg

1. นโยบาย “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก”: ชื่อนโยบายคุ้นหูที่บ่งบอกในตัวเองอยู่แล้วว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการ ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้มีความเจริญไป ทั่วเมืองและชนบท ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – 2509) ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็น ”แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” และเป็นแม่แบบของแผนอื่น ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน 

อ้างอิงภาพจาก https://2.bp.blogspot.com/-YQp1b8DJjW4/UmoXZ88Ft6I/AAAAAAAAAQ8/UjCfPRrtw3c/s1600/laem-chabang-port.jpg

2. โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard): เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่ จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทราให้เต็มไปด้วยนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นช่องทางเข้าออกสำคัญในการส่งสินค้าทางทะเล และสามารถเชื่อมต่อกับแหล่งจ้างงานและวัตถุดิบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถือเป็นโครงการต้นแบบในการพัฒนา Eastern Economic Corridor หรือ EEC ในปัจจุบันนั่นเอง โครงการนี้เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2525 ตั้งแต่สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529) ทั้งนี้ Eastern Seaboard เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ GDP ของไทยในช่วงระยะเวลา 10 ปี คือตั้งแต่ปี 2528 ถึง 2538 มีอัตราการเติบโตอย่าง ก้าวกระโดด และมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในปริมาณมหาศาล

อ้างอิงภาพจาก https://medias.thansettakij.com/images/2017/07/02/1551361323_172887.jpg

3. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ: หลังจากช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 หนึ่งในมาตรการที่เห็นผลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ได้ชัดเจนคือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ตามการออกพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ในรัฐบาลสมัย คุณชวน หลีกภัย (อันที่จริงเคยถูกระบุไว้ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 แต่ไม่ได้มีการ ดำเนินการอย่างจริงจัง) ซึ่งต่อมามีหลายรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการสำเร็จ สร้างผลกำไรให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงขึ้น (แม้จะมีบางรายเกิดปัญหาขาดทุนและต้องเร่งปรับ โครงสร้างการดำเนินธุรกิจต่อไป) 

อ้างอิงภาพจาก https://sites.google.com/a/acc.msu.ac.th/nok-air/_/rsrc/1472851162271/home/krni-suksa-kar-prayukt-chi-thekhnoloyi-sarsnthes-sahrab-rabb-kar-cxng-taw-kheruxng-bin-khxng-say-kar-bin-nk-xaer/nok%20air.jpg

4. การเปิดเสรีการบิน: นโยบายนี้ได้ปรากฎให้เห็นชัดในสมัยคุณทักษิณ ชินวัตร ประมาณปี พ.ศ. 2547 เพื่อมุ่ง ส่งเสริมให้สายการบินต่างชาติสามารถขยายบริการมายังจุดต่าง ๆ ในไทยได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็สามารถ ขนส่งผู้โดยสารออกจากไทยไปยังประเทศที่สามได้มากขึ้นด้วย หากไม่นับกรณีอื้อฉาวที่เกิดการขัดกันแห่ง ผลประโยชน์ของผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว นโยบายนี้ได้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการบินโดยเพิ่มการ แข่งขัน สร้างประโยชน์ให้แก่การท่องเที่ยวไทยอย่างก้าวกระโดด และลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศได้มาก อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างเปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน มีด้านดีก็มีด้านเสีย การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจก็ เช่นกัน อาทิ การพัฒนาโครงการ Eastern Seaboard ที่สร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเบียดบังสิทธิ ของประชาชนทั้ง 3 จังหวัดก่อนมาเป็นนิคมอุตสาหกรรม หรือการเปิดเสรีการบินที่อาจต้องพิจารณาประเด็นด้าน ความมั่นคงของประเทศอย่างระมัดระวังด้วย 

ดังนั้น ภาครัฐจึงควรชั่งน้ำหนักระหว่างด้านดีกับด้านเสียในการ ดำเนินนโยบายต่าง ๆ อย่างรอบคอบ และให้เหมาะสมกับบริบทในแต่ละช่วงเวลา โดยสรุป เมื่อมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่า ไม่ว่ายุคสมัยใด มักจะมีนโยบายเศรษฐกิจที่ เป็นดาวเด่นของยุคอยู่เสมอ และเป็นที่น่าสังเกตว่านโยบายที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน มักเป็นนโยบายในเชิงพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจ ส่งเสริมการแข่งขันและยกระดับศักยภาพการผลิตที่ไม่ได้อิง กับผลลัพธ์ในระยะสั้นเท่านั้นครับ! นโยบายเศรษฐกิจไทย

อ้างอิงบทความจาก นายสุพริศร์ สุวรรณิก (2020) ย้อนรอยนโยบายเศรษฐกิจไทยในอดีต, Available at: https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_09Nov2020.pdf (Accessed: 20 November 2020).

สรุปสาระสำคัญจาก ภูมิ

บทความอื่น ๆ : Economics & Finance Archives – (kamonnat-ai.com)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *