มาดูกันว่า Web 3.0 คืออะไร? ทำงานอย่างไรบ้าง?

Web 3.0

          สวัสดีครับ ตั้งแต่อินเทอร์เน็ตได้มีการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นก็ผ่านมาเป็นเวลากว่าสามทศวรรษแล้ว Tim Berners-Lee ได้คิดค้นอินเทอร์เน็ตเวอร์ชันพร้อมใช้งานและเว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกซึ่งเกิดซึ่งขึ้นในปี ค.ศ. 1990

          เว็บไซต์ตัวนี้เป็น Web 1.0 ซึ่งเป็นที่เว็บไซต์ไม่สามารถค้นหาและไม่สามารถโต้ตอบอะไรได้ ทำได้แค่ดูเนื้อหาเพียงอย่างเดียว จากนั้นในปี ค.ศ. 2005 เว็บโซเชียลแบบใหม่ได้รับความนิยมและมีลูกเล่นเพิ่มเข้ามามากขึ้น

          ซึ่งสอดคล้องกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีของเว็บ เช่น CSS, HTML และ JavaScript และแพลตฟอร์มเว็บไซต์แบบโต้ตอบ เช่น Myspace และ Facebook

          ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ Tim Berners-Lee ได้พูดถึงความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Semantic Web (เว็บเชิงความหมาย) ซึ่งสามารถดึงการเชื่อมต่อระหว่างสินทรัพย์ออนไลน์เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ได้สมบูรณ์มากขึ้น

          ในตอนนี้วิสัยทัศน์ของ Semantic Web นั้นกำลังได้รับความนิยมในฐานะ Web 3.0 ซึ่งต่อยอดมาจากพื้นฐานที่มีในอดีตกว่าสามทศวรรษ บทความนี้เราจะมาดูกันว่า Web 3.0 คืออะไร ทำงานอย่างไรบ้าง

Web 3.0 คืออะไร

          Web 3.0 เป็นอินเทอร์เน็ตรุ่นที่สามที่กำลังจะมาถึง โดยเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่าง ๆ จะสามารถประมวลผลข้อมูลคล้ายกับคนที่มีความฉลาดผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น Machine Learning (ML), Big Data, Decentralized Ledger Technology (DLT) เป็นต้น แต่เดิม Web 3.0 ถูกเรียกว่า Semantic Web โดยผู้สร้าง World Wide Web ชื่อ Tim Berners-Lee ซึ่งมีเป้าหมายในการเป็นอินเทอร์เน็ตที่มีความอิสระ มีความฉลาด และเปิดกว้างมากขึ้น

          คำจำกัดความของ Web 3.0 สามารถอธิบายได้ดังนี้ ข้อมูลจะเชื่อมต่อเข้าหากันในลักษณะการกระจายอำนาจ (Decentralized) โดยจะเป็นก้าวที่สำคัญสำหรับอินเทอร์เน็ตในรุ่นปัจจุบันหรือ Web 2.0 ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้บนส่วนกลาง

          นอกจากนี้ ผู้ใช้และเครื่องจักรสามารถโต้ตอบกับข้อมูลได้ แต่สำหรับการที่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้นั้น โปรแกรมต้องเข้าใจข้อมูลเหล่านี้ในทั้งด้านแนวคิดและบริบท ซึ่งเมื่อคำนึงถึงเรื่องนี้ รากฐานที่สำคัญของ Web 3.0 ก็คือ Semantic Web และปัญญาประดิษฐ์

blockchain

Designed by Freepik

Web 3.0 สกุลเงินดิจิทัลและ Blockchain

          เครือข่าย Web 3.0 จะทำงานผ่านโปรโตคอลแบบกระจายศูนย์ ซึ่งเป็น Block เริ่มต้นของเทคโนโลยี Blockchain และสกุลเงินดิจิทัล เราอาจจะเห็นการรวมตัวกันแ ละความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างเทคโนโลยีทั้งสามนี้กับเทคโนโลยีสาขาอื่น ๆ ซึ่งสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ผสานการทำงานได้อย่างอัตโนมัติผ่าน Smart Contract และสามารถนำไปใช้ขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ ไล่ไปตั้งแต่ Microtransaction ไปจนถึงการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล Peer-to-Peer แบบต่อต้านการตรวจสอบทุกประเภท และการแชร์ข้อมูลแอปพลิเคชัน เช่น Filecoin เพื่อเปลี่ยนแปลงการดำเนินการของทุกบริษัทและทุกธุรกิจไปอย่างสิ้นเชิง โปรโตคอล Decentralized Finance (DeFi) ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนเล็ก ๆ ของเรื่องนี้เท่านั้น

เทคโนโลยีของ Web 3.0

          เทคโนโลยีของ Web 3.0 นั้นจริง ๆ แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ โดย Zeldman หนึ่งในผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Web 1.0 และ 2.0 รุ่นแรก ๆ ได้เขียนโพสต์สนับสนุน Web 3.0 บนบล็อกของเขาในปี ค.ศ. 2006 แต่หัวข้อนี้ได้เริ่มพูดถึงในปี ค.ศ. 2001

การวิวัฒนาการของเทคโนโลยีของ Web 3.0

          Web 3.0 นั้นวิวัฒนาการมาตามธรรมชาติซึ่งได้ต่อยอดจากรุ่นก่อน โดยผสานกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าไปเช่นปัญญาประดิษฐ์ และ Blockchain รวมไปถึงการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้และการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ทำให้สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่า Web 3.0 เป็นการอัปเกรดมาจาก Web 1.0 และ Web 2.0 ซึ่งเป็นรุ่นก่อนหน้านี้

Web 1.0 (ค.ศ. 1989 – ค.ศ. 2005)

          Web 1.0 หรือที่เรียกว่า Static Web เป็นอินเทอร์เน็ตรุ่นแรกที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในปี ค.ศ. 1990 ถึงแม้ว่าข้อมูลจะเข้าถึงได้อย่างจำกัดซึ่งแทบจะไม่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้เลย (ให้เรานึกถึงหนังสือพิมพ์) โดยในสมัยก่อน การสร้างหน้าสำหรับผู้ใช้หรือที่สำหรับแสดงความคิดเห็นบทความนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่สำคัญสักเท่าไร

Web 1.0 ไม่มีอัลกอริทึมสำหรับการกรองหน้าเพจ นั่นทำให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้ยากมาก หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เหมือนกับทางหลวงที่มีถนนเลนเดียวแคบ ๆ ซึ่งเนื้อหานั้นถูกสร้างโดยคนไม่กี่คนเท่านั้น และข้อมูลส่วนใหญ่มาจากไดเรกทอรี

Web 2.0 (ค.ศ. 2005 – ปัจจุบัน)

          Social Web หรือ Web 2.0 นั้นทำให้บนโลกอินเทอร์เน็ตสามารถโต้ตอบมีปฏิสัมพันธ์กันได้มากขึ้น ซึ่งมาจากความก้าวหน้าในเทคโนโลยีของเว็บไซต์ เช่น Javascript, HTML5, CSS3 ทำให้ Start Up หลาย ๆ ที่สามารถสร้างแพลตฟอร์มเว็บไซต์เชิงโต้ตอบได้ เช่น YouTube, Facebook, Wikipedia และอื่น ๆ อีกมากมาย

          นี่เป็นการปูทางให้ทั้งเครือข่ายโซเชียลและเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น เนื่องจากในตอนนี้ข้อมูลสามารถกระจายและแบ่งปันระหว่างแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ง่าย

          โดยผู้บุกเบิกชุดเครื่องมือเหล่านี้ก็เป็น Web Innovator ที่เหมือนกับ Jeffrey Zeldman

Web 3.0 (กำลังมา)

          Web 3.0 เป็นขั้นตอนในการวิวัฒนาการของเว็บไซต์ต่อไปซึ่งจะทำให้อินเทอร์เน็ตฉลาดมากขึ้น หรือประมวลผลข้อมูลได้ฉลาดเหมือนกับมนุษย์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ที่สามารถใช้โปรแกรมที่มีความฉลาดในการช่วยเหลือผู้ใช้ได้

          Tim Berners-Lee กล่าวว่า Semantic Web นั้นมีขึ้นเพื่อการเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติกับระบบ ผู้คน และอุปกรณ์ภายในบ้าน ทำให้การสร้างเนื้อหาและการตัดสินใจจึงมีความเกี่ยวข้องการทั้งมนุษย์และเครื่องจักร สิ่งนี้จะช่วยให้สามารถสร้างและเผยแพร่เนื้อหาที่ถูกแก้ไขมาอย่างชาญฉลาดไปยังผู้บริโภคที่ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคน

คุณสมบัติหลักของ Web 3.0

          ก่อนอื่นเพื่อให้เข้าใจว่า Web 3.0 ทำอะไรได้บ้าง เราจึงต้องมาดูว่าคุณสมบัติหลักของ Web 3.0 มีอะไรบ้าง

  • ความแพร่หลาย
  • เว็บเชิงความหมาย
  • ปัญญาประดิษฐ์
  • กราฟิก 3 มิติ

Ubiquity

          Ubiquity นั้นหมายถึงการมีความสามารถที่จะอยู่ได้ในทุกที่ในเวลาเดียวกัน ถ้าพูดถึง Web 2.0 นั้นก็เป็นแบบนี้อยู่แล้ว เช่น ผู้ใช้ Facebook สามารถจับภาพและแชร์ได้ทันที ซึ่งภาพเหล่านี้ก็จะแพร่กระจายออกไปเพราะทุกคนสามารถเข้าถึงได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ตราบใดที่พวกเขาสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเหล่านี้ได้

          Web 3.0 นั้นต้องการที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา หมายความว่าอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้นอาจจะไม่ได้เน้นไปยังคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเหมือน Web 2.0 อีกต่อไป เนื่องจากเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ทำให้เกิด Smart Device ต่าง ๆ มากมาย

Semantic Web

          Semantic Web ตามที่ Tim Berners-Lee ได้กล่าวไว้ Semantic Web เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคำ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มาจากเว็บเป็นจำนวนมากได้ ซึ่งรวมไปถึงเนื้อหา ธุรกรรม และความเชื่อมโยงระหว่างผู้คน ตัวอย่างเช่น

  • I love Bitcoin
  • I <3 Bitcoin

Syntax ของทั้งสองข้อความนี้อาจจะแตกต่างกัน แต่ความหมายที่ต้องการจะสื่อออกมานั้นค่อนข้างคล้ายกัน เนื่องจาก Semantic จะดูตรงความหมายหรือบริบทของเนื้อหาเท่านั้น

          การนำ Semantic เข้ามาใช้ในเว็บไซต์อาจจะทำให้เครื่องจักรสามารถถอดรหัสความหมายและอารมณ์โดยการวิเคราะห์ข้อมูลได้ ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นจากการปรับปรุงแก้ไขการเชื่อมต่อข้อมูลเหล่านี้

ปัญญาประดิษฐ์

          Wikipedia ได้ให้ความหมายของปัญญาประดิษฐ์ว่าเป็นการแสดงออกถึงฉลาดโดยเครื่องจักร

          ตั้งแต่ที่ Web 3.0 นั้นสามารถอ่านและถอดรหัสของความหมายและบริบทซึ่งถูกถ่ายทอดโดยชุดข้อมูลได้ จึงทำให้เครื่องจักรที่มีความฉลาดปรากฏขึ้นมา ถึงแม้ว่า Web 2.0 จะมีความสามารถที่คล้ายกัน แต่ส่วนใหญ่ก็ยังต้องพึ่งมนุษย์เป็นหลัก ซึ่งอาจจะเป็นโอกาสให้มีการทุจริตกันเกิดขึ้นได้ เช่น การรีวิวสินค้าโดยมีอคติ และการให้คะแนนไม่ตรงตามความเป็นจริง เป็นต้น

          เช่น แพลตฟอร์มรีวิวออนไลน์อย่าง Trustpilot เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์หรือบริการไหนก็ได้ แต่บริษัทก็สามารถจ่ายเงินให้กับคนกลุ่มใหญ่เพื่อรีวิวสินค้าหรือบริการในเชิงบวกได้ ซึ่งเมื่อเป็นแบบนี้ผู้บริโภคก็ไม่สามารถรู้ได้ว่ารีวิวนี้จริงหรือเท็จ ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงต้องมีปัญญาประดิษฐ์เพื่อที่จะเรียนรู้และแยกแยะข้อมูลจริงข้อมูลเท็จเพื่อให้เหลือแต่เพียงข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ

          ระบบปัญญาประดิษฐ์ของ Google นั้นพึ่งลบรีวิวเชิงลบออกไปประมาณหนึ่งแสนรีวิวของแอปพลิเคชัน Robinhood ออกจาก Play Store เนื่องจากปัญญาประดิษฐ์ตรวจสอบว่ามีความพยายามในการควบคุมเรตติ้งเพื่อที่จะ Downvote แอปพลิเคชันปลอม ซึ่งที่ก็เป็นการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ซึ่งสามารถเข้ากันได้กับ Web 3.0 ที่กำลังจะมาถึงนี้ ทำให้บล็อกหรือแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ สามารถกรองข้อมูลและปรับให้เหมาะสมกับความชอบของผู้ใช้แต่คน เมื่อระบบปัญญาประดิษฐ์มีความก้าวหน้ามากขึ้น สุดท้ายก็จะสามารถให้ข้อมูลที่เป็นกลางที่สุดแก่ผู้ใช้ได้

Spatial Web และกราฟิก 3 มิติ

          นักอนาคตศาสตร์บางคนเรียก Web 3.0 ว่า Spatial Web เนื่องจากมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เส้นแบ่งระหว่างทางกายภาพและดิจิทัลจางลงจากการปฏิวัติเทคโนโลยีกราฟิก เพื่อนำเข้าสู่โลกเสมือนจริง 3 มิติ

          กราฟิก 3 มิตินั้นไม่เหมือนกับกราฟิก 2 มิติ ตรงที่กราฟิก 3 มิติได้ยกระดับการนำเสนอสิ่งต่าง ๆ ซึ่งไม่เพียงแต่เกม เช่น Decentraland แต่ยังรวมถึงภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ด้านอสังหาริมทรัพย์ ด้านสุขภาพ ด้านอีคอมเมิร์ซ และอื่น ๆ อีกมากมาย

แอปพลิเคชัน Web 3.0

          ความต้องการทั่ว ๆ ไปของแอปพลิเคชัน Web 3.0 คือ ความสามารถในการแยกแยะข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นข้อมูลที่ให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นจริงและการดำเนินการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ่งแอปพลิเคชันเหล่านี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น นั่นหมายความว่ายังมีพื้นที่ในการปรับปรุงและพัฒนาอีกมา ถึงแม้ว่าจะยังห่างไกลจากสิ่งที่แอปพลิเคชัน Web 3.0 สามารถทำได้

          โดยบริษัทบางแห่งที่กำลังจะสร้างหรือออกผลิตภัณฑ์ที่กำลังจะเป็นแอปพลิเคชัน Web 3.0 เช่น Amazon, Apple และ Google โดยตัวอย่างของแอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยี Web 3.0 ได้แก่ Siri และ Wolfram Alpha

Siri

          ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ที่ควบคุมด้วยเสียงของ Apple ได้มีความฉลาดมากยิ่งขึ้นตั้งแต่การเปิดตัวครั้งแรกใน iPhone 4S ซึ่ง Siri จะใช้ Speech Recognition ควบคู่ไปกับปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยให้สามารถเข้าใจคำสั่งที่มีความซับซ้อนได้

          ในตอนนี้ Siri และผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ตัวอื่น ๆ เช่น Alexa ของ Amazon และ Bixby ของ Samsung นั้นสามารถเข้าใจคำถามต่าง ๆ ได้ เช่น ร้านข้าวมันไก่ที่ใกล้ที่สุดอยู่ไหน หรือ นัดหมายกับ Akiraz พรุ่งนี้ 9 โมง รวมไปถึงการให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่แทบจะในทันที

Wolfram Alpha

          Wolfram Alpha ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณความรู้ที่สามารถตอบคำถามต่าง ๆ ผ่านการคำนวณได้ แทนที่จะให้หน้าเว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูล ซึ่งเราสามารถลองเปรียบเทียบถึงความแตกต่างกันได้ระหว่าง Wolfram Alpha และ Google โดยการค้นหา เช่น Thailand vs Vietnam

          Google นั้นได้แสดงผลลัพธ์การค้นหาเกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอล ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ใส่คำว่าฟุตบอลลงไปเลยก็ตาม เนื่องจากการค้นหาแบบนี้เป็นการค้นหาที่คนชอบค้นหากัน ในทางกลับกัน Wolfram Alpha จะเปรียบเทียบรายละเอียดของทั้งสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นขนาดของพื้นที่ จำนวนประชากร ภาษา และอื่น ๆ ซึ่งนี่ก็คือความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Web 2.0 และ 3.0

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Werner Vermaak (2021) What Is Web 3.0?, Available at: https://coinmarketcap.com/alexandria/article/what-is-web-3-0 (Accessed: 22th January 2022).

อ้างอิงจาก Anwesha Roy (2021) What is Web3? What it Isn’t, and When Can You Start Using it?, Available at: https://www.xrtoday.com/mixed-reality/what-is-web3/ (Accessed: 22th January 2022).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *