มาดูวิธีการวางแผนการเงิน แบบเข้าใจง่าย ๆ สำหรับมือใหม่

สวัสดีครับ สำหรับบทความนี้ ผมจะมาพูดถึงเรื่อง วิธีการวางแผนทางการเงินแบบง่าย ๆ ซึ่งการวางแผนทางการเงิน ถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่ควรรู้ เพราะจะช่วยให้เราเข้าใจและบริหารเงินได้ดียิ่งขึ้น มันเกิดจากปัญหาที่ใครหลาย ๆ คนอาจจะเจอก็คือ เงินไม่เคยพอใช้ รายจ่ายมากกว่ารายได้ ซึ่งบางครั้งในกรณีที่พบว่ารายจ่ายนั้น อาจจะเป็นรายจ่ายที่จำเป็น เช่นค่าน้ำ ค่าไฟ สิ่งของการดำรงชีวิต สุดท้ายก็ไม่เหลือเงินเก็บ ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจกันได้ แต่ถ้าหากบางท่านที่ตัดเรื่องรายจ่ายที่จำเป็นไป แล้วอยากที่จะเริ่มเก็บเงินในส่วนที่เหลือ อาจจะด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ก็สามารถเริ่มได้ โดยวิธีง่าย ๆ ตามที่ผมกำลังจะบอกต่อจากนี้ไปครับ

สิ่งแรกที่ต้องรู้ไว้ ก่อนเริ่มวางแผนทางการเงิน

          อย่างที่ได้พูดไปในก่อนหน้านี้ ก่อนที่จะวางแผนทางการเงินได้ สิ่งแรกที่เราจะต้องมีก็คือ เงินที่เหลือจากในส่วนของ รายรับจะต้องมากกว่ารายจ่าย รายจ่ายในที่นี้หมายถึง รายจ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าน้ำค่าไฟ ค่าที่พัก ค่ากินค่าอยู่ ค่าเดินทาง

แบ่งเงินที่เหลือออกเป็น 3 ก้อน

          ก้อนที่ 1 เงินเก็บระยะสั้น ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เก็บไว้สำหรับสำรองค่าใช้จ่าย เวลาที่เกิดเหตุฉุกเฉิน แนะนำว่าเงินก้อนนี้ ควรเก็บอย่างน้อยมากกว่ารายจ่ายที่จำเป็นต่อเดือน 3-6 เท่า เช่นรายจ่ายที่จำเป็นเดือนละ 7,000 บาท ก็เก็บให้ได้ 21,000-42,000 บาท และควรเก็บไว้ที่บัญชีออมทรัพย์ หรือกองทุนตลาดเงิน เวลาที่มีปัญหาสามารถถอนเงินสดออกมาใช้จ่ายได้ทันที

          ก้อนที่ 2 เงินเก็บระยะกลาง ระยะเวลา 3-7 ปี เก็บไว้สำหรับสิ่งของที่ต้องการ หรือจำเป็น ควรเก็บไว้ในรูปแบบพันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวมตราสารหนี้/ผสม กองทุนรวมตราสารทุน หรืออสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้เงินได้งอกเงยขึ้นมา

          ก้อนที่ 3 เงินเก็บระยะยาว ระยะเวลามากกว่า 7 ปีขึ้นไป เก็บไว้สำหรับวัยเกษียณอายุ ควรเก็บไว้ในรูปแบบหุ้น, กองทุนรวม, กองทุนรวมเพื่อลดหย่อนภาษี SSF และ RMF รวมไปถึงประกันชีวิต เพื่อเพิ่มมูลค่าของเงิน

เขียนโดย Akiraz

อ้างอิงจาก Preecha Manop (2021) การวางแผนการเงินที่ดีด้วยตัวเอง สำหรับมือใหม่หัดออม, Available at: https://www.finnomena.com/preecha_manop/financial-planning-for-beginner/ (Accessed: 25th July 2021).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *