ทรัพยากรปิโตเลียมและปิโตเลียมสำรองในไทย


ปริมาณปิโตเลียมและปริมาณปิโตเลียมสำรอง ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญมาก ส่งผลต่อสภาพความคล่องตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเราควรศึกษาเอาไว้ว่า ค่าใดที่มีผลต่อเศรษฐกิจในประเทศไทย ดังนี้

  • ปริมาณทรัพยากร (Resources) คือ ปริมาณปิโตรเลียมที่ยังไม่มีการค้นพบ แต่มีศักยภาพทางธรณีวิทยาปิโตรเลียมและคาดว่าอาจจะค้นพบ หรือค้นพบแล้วแต่ไม่คุ้มที่จะผลิตออกมาขาย ซึ่งถ้าผู้อ่านพิจารณาดูจะเห็นได้ว่าปริมาณดังกล่าวมิได้มีประโยชน์ ณ เวลาและสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะไม่สามารถพัฒนาผลิตออกมาใช้ได้ในทางปฏิบัติ นอกจากนี้ยังเป็นตัวเลขที่เปลี่ยนได้เรื่อย ๆ แล้วแต่การคาดการณ์ และเทคโนโลยี
  • ปริมาณสำรอง (Reserves) คือ ปริมาณปิโตรเลียมที่ยืนยันการค้นพบด้วยการเจาะหลุมแล้ว และยังต้องคุ้มที่จะผลิตออกมาขายด้วย ปริมาณสำรองสามารถแบ่งย่อยได้อีกเป็น 3 ชนิดขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นว่าจะพบและความคุ้มค่าในการผลิต นั่นคือ ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว , ปริมาณสำรองที่คาดว่าจะพบ และ ปริมาณสำรองที่น่าจะพบ ซึ่งแต่ละแบบที่กล่าวถึงข้างต้นมีความเชื่อมั่นเป็น 90%, 50% และ 10% ตามลำดับ โดยปริมาณปิโตรเลียมที่จับต้องคือ ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว

ตัวชี้วัดที่บ่งบอกอายุและความยั่งยืนของปริมาณสำรอง

นอกจากปริมาณสำรองแล้ว สิ่งที่เราจำเป็นต้องใช้พิจารณาว่าเราจะสามารถผลิตน้ำมันไปได้อีกนานเท่าไร คือ

  1. ค่า R/P ratio (Reserves to Production Ratio) เป็นค่าที่ใช้สำหรับประเมินการอย่างคร่าว ๆ ว่าเมื่อเราผลิตปิโตรเลียมด้วยอัตราการผลิตเท่านี้ต่อปี โดยที่ไม่มีการหาปริมาณสำรองเพิ่มเติม จะมีปิโตรเลียมคงเหลือให้ใช้ต่อไปอย่างน้อยอีกกี่ปี ซึ่งค่านี้ได้มาจากการนำปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้ว (Proven Reserves) หารด้วยอัตราการผลิตปิโตรเลียมต่อปี (Production) และมีหน่วยที่ได้เป็นหน่วยปี
  2. ค่า Reserves Replacement Ratio (RRR) คือ สัดส่วนของ การจัดหาปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วเพื่อทดแทนปริมาณการผลิตของแต่ละปีคือ ซึ่งการผลิตจะสามารถดำเนินไปต่อเนื่องในระยะยาวได้จะต้องมีค่า RRR อย่างน้อยคือ 1 หรือ สามารถหาปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วทดแทนได้ 100 % ของการผลิตในแต่ละปี
    ถ้า RRR ต่ำกว่า 1 หมายถึง เราสามารถทดแทนปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วได้น้อยกว่าปริมาณที่ผลิตไป หรือก็คือ เราไม่สามารถปรับเปลี่ยน ปริมาณสำรองที่ยังไม่พิสูจน์ ขึ้นมาเป็นปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วได้ ปริมาณที่มีอยู่จะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ และถ้า RRR เท่ากับ 0 หมายถึง ไม่สามารถค้นพบปริมาณสำรองเพิ่มเติมได้ การผลิตต่อไปเรื่อยๆจะทำให้น้ำมันหมดไปในที่สุด
    ดังนั้น จึงต้องมีการกระตุ้นให้มีการสำรวจพัฒนาเพื่อให้ปริมาณทรัพยากรปิโตรเลียม ปรับเปลี่ยนขึ้นมาเป็นปริมาณสำรองที่ยังไม่พิสูจน์ หรือทำให้ปริมาณสำรองที่ยังไม่พิสูจน์กลายเป็นปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว อีกวิธีหนึ่งก็คือ การเปิดสัมปทานพื้นที่รอบใหม่ๆเพื่อหาปริมาณทรัพยากรและปริมาณสำรองปิโตรเลียมเพิ่มเติมทดแทนที่ผลิตไป

อ้างอิงบทความจาก PTTEP (2020) ปริมาณทรัพยากรและปริมาณสำรองปิโตรเลียมในไทย, Available at: https://www2.pttep.com/Energyliteracy/PTTEP/issue.aspx?id=26 (Accessed: 29 December 2020).

สรุปบทความโดย ภูมิ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *