ธนาคารกลางทำ QE แล้วดีจริงหรือ?


สิ่งที่หลายธนาคารกลางต่างทำกัน คือ การประกาศเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือที่เรียกกันว่า QE (Quantitative Easing) คำถามที่ตามมา คือ ธนาคารกลางทำ QE ดีจริงหรือ? บทความนี้จะเล่าว่า การทำ QE จะดี จริงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการและการทำก็อาจมีผลเสียมากมายที่จะตามมาเช่นกัน 

อ้างอิงภาพจาก https://image.bangkokbiznews.com/kt/media/image/news/2020/10/27/904815/750x422_904815_1603808713.jpg

 เมื่อธนาคารกลางเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลตามช่วงอายุต่าง ๆ ผลที่ตามมา คืออัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลจะลดลง ส่งผลให้ต้นทุนการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ของภาคธุรกิจถูกลง ขณะเดียวกันเมื่อ ธนาคารกลางเข้าซื้อพันธบัตร จะเป็นการ “คืนเม็ดเงิน” กลับไปให้นักลงทุนที่ถือพันธบัตรอยู่เดิม  ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สำหรับประโยชน์ที่ธนาคารกลางคาดว่าจะได้รับจากการทำ QE มี 4 ประการดังนี้

ประการแรก ต้นทุนที่ถูกลงในตลาดตราสารหนี้จะส่งผ่านไปยังอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์

ประการที่สอง การเพิ่มสภาพคล่องเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น

ประการที่สาม ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนและพันธบัตรรัฐบาลจะลดลง

ประการที่สี่ ราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นจะกระตุ้นการบริโภค

จะเห็นได้ว่า ผลดีจากการทำ QE ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยและบริบทของประเทศนั้น ๆ โดยประเทศที่ พัฒนาแล้วมักมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เอื้อให้เกิดประโยชน์จากการทำมากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น สหรัฐฯ และ อังกฤษที่เป็นศูนย์กลางทางการเงิน มีตลาดตราสารทุนและตราสารหนี้ที่กว้างและลึก ส่วนตลาดเงินและตลาดสินเชื่อมีความเชื่อมโยงกันสูง ปัจจัยเหล่านี้จึงเอื้อให้เกิดประโยชน์จากการทำ QE ได้มากกว่า 

ทั้งนี้ การทำ QE ก็มีผลเสียอยู่หลายข้อด้วยกัน ซึ่งจะทยอยสะสมความเปราะบางต่อเศรษฐกิจมากขึ้น เรื่อย ๆ 

ข้อแรก การลดอัตราดอกเบี้ยระยะกลางและยาวจะค่อย ๆ ส่งผลเสียต่อฐานะทางการเงินของสถาบัน การเงิน ซึ่งจะบั่นทอนความสามารถในการปล่อยสินเชื่อในระยะยาว 

ข้อสอง นักลงทุนมีแนวโน้มลงทุนเสี่ยงมากขึ้นในภาวะที่ผลตอบแทนอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากประเมินความเสี่ยงต่ำเกินไป อีกทั้งราคาสินทรัพย์ที่สูงขึ้นอาจปรับตัวรุนแรงและรวดเร็ว (sharp asset price correction) 

ข้อสาม ประโยชน์จาก QE อาจกระจุกอยู่กับบริษัทขนาดใหญ่และคนรวย ซึ่งจะซ้ าเติม ปัญหาความเลื่อมล้ าในสังคม 

ข้อสี่ มาตรการ QE มักต้องทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้ตลาดเสพติดจน ส่งผลต่อกลไกการทำงานของตลาด อีกทั้งการออกจากมาตรการ QE อาจทำได้ยาก เนื่องจากอัตราผลตอบแทน อาจปรับตัวขึ้นแรงเมื่อถอนมาตรการ 

ข้อห้า อัตราดอกเบี้ยระยะกลางและยาวที่ลดลงจะส่งผลกระทบต่อการ ออม ซึ่งอาจสร้างปัญหาในระยะยาวโดยเฉพาะภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มออมเงินไม่พอสำหรับยามเกษียณ

ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการและผลของมาตรการอาจสร้างความเปราะบางต่อ ระบบเศรษฐกิจได้ถ้าเศรษฐกิจติดโควิด 19 และต้องการยาขนานใหม่ หมอจะจ่ายยาแรง ก็ต้องดูให้เหมาะกับสภาวะความพร้อมของร่างกายและผลข้างเคียงของยา เช่น กันผู้ดำเนินนโยบายก็ต้องเลือกใช้นโยบายให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศ และต้องชั่งน้ำหนักอย่างรอบคอบระหว่างประโยชน์ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว

อ้างอิงบทความจาก นลิน หนูขวัญ (2020) ธนาคารกลางทำ QE แล้วดีจริงหรือ?, Available at: https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_27Oct2020.pdf (Accessed: 20 November 2020).

สรุปสาระสำคัญจาก ภูมิ

บทความอื่น ๆ : Economics & Finance Archives – (kamonnat-ai.com)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *