มาดูกันว่า Avalanche คืออะไร? เหรียญ AVAX ใช้ทำอะไรบ้าง?

Avalanche

สวัสดีครับ ในขณะที่ Blockchain ได้ถูกพัฒนาขึ้นมานั้นก็ได้ให้วิธีในการแก้ไขปัญหาแบบใหม่ในการแก้ไขปัญหาเดิม ๆ ที่มีอยู่แล้วอย่างความสามารถในการขยายขนาด ความสามารถในการทำงานร่วมกัน และความสามารถในการใช้งาน โดย Avalanche ได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ไม่เหมือนใครโดยการใช้ Blockchain แยกออกเป็น 3 Blockchain ในแพลตฟอร์มหลักของตัวเอง ซึ่งมีเหรียญ AVAX เป็น Native Token เป็นตัวขับเคลื่อน รวมไปถึงกลไกฉันทามติหลายอย่าง โดย Avalanche ได้อ้างว่าตัวเองเป็นแพลตฟอร์ม Smart Contract ที่เร็วที่สุดในอุตสาหกรรม Blockchain ซึ่งในบทความนี้เราจะมาดูกันว่า Avalanche จะเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างไรบ้าง

Avalanche เปิดตัวตอนไหน?

Avalanche ได้เปิดตัวในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 โดย Ava Labs ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในนิวยอร์ก โดย Ava Labs สามารถระดมทุนไปได้เกือบ 300 ล้านดอลลาร์ และ Avalanche Foundation ได้ทำการขายเหรียญทั้งแบบ Public Sale และ Private Sale ได้เงินไปเป็นจำนวน 48 ล้านดอลลาร์ โดย Ava Labs มีทีมผู้ก่อตั้งสามคน ได้แก่ Kevin Sekniqi, Maofan “Ted” Yin และ Emin Gün Sirer

Avalanche แก้ปัญหาอะไรได้บ้าง?

Avalanche พยายามแก้ไขปัญหาหลัก ๆ 3 อย่าง ได้แก่ ปัญหาในด้านความสามารถในการปรับขนาด ปัญหาในด้านค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม และปัญหาในด้านความสามารถในการทำงานร่วมกัน

ความสามารถในการปรับขนาดเทียบกับการกระจายอำนาจ

โดยปกติแล้ว Blockchain นั้นพยายามสร้างสมดุลระหว่างความสามารถในการปรับขนาดและการกระจายอำนาจ โดยเครือข่าย Blockchain ใดที่มีกิจกรรมเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากก็อาจจะทำให้เครือข่ายเกิดความหนาแน่น ทำให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปอย่างล่าช้า ซึ่ง Bitcoin เป็นหนึ่งในตัวอย่างของปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เนื่องจากบางครั้งอาจจะใช้เวลาในการทำธุรกรรมหลายชั่วโมงหรือเป็นวันสำหรับการประมวลผลในช่วงที่เครือข่ายเกิดความแออัดได้

ซึ่งมีวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้คือการทำให้เครือข่ายมีความเป็นรวมศูนย์มากขึ้น โดยจะให้อำนาจคนเพียงไม่กี่คนในการตรวจสอบกิจกรรมในเครือข่าย ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การกระจายอำนาจนั้นเป็นส่วนสำคัญต่อความปลอดภัยของ Blockchain ซึ่ง Blockchain ได้พยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น โดย Avalanche ได้สร้างแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ไม่เหมือนใครขึ้นมา

ค่าธรรมเนียมสูง

ปัญหาที่สามารถเจอได้บ่อย ๆ อีกอย่างหนึ่งของ Blockchain ขนาดใหญ่อย่าง Ethereum ก็คือมีค่าธรรมเนียมหรือแก๊สสูง ซึ่งอาจจะสูงมากขึ้นเมื่อมีกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายสูง โดยสิ่งนี้จะเป็นการกีดกันผู้ใช้ Blockchain ออกไป แต่ผู้ใช้ก็ยังจำเป็นต้องใช้เพราะไม่มีทางเลือก ตัวอย่างจากความนิยมของ Ethereum และการขาดตัวเลือกในอดีตนั้นทำให้มีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่ค่อนข้างสูง โดยในบางช่วงการโอนแบบธรรมดามีค่าธรรมเนียมกว่า 10 ดอลลาร์ และสำหรับการใช้งาน Smart Contract ที่มีความซับซ้อนนั้นอาจจะสูงถึง 100 ดอลลาร์

การทำงานร่วมกัน

โปรเจกต์และธุรกิจต่าง ๆ นั้นเมื่อพูดถึง Blockchain ต่างมีความต้องการที่แตกต่างกันไป โดยก่อนหน้านี้ โปรเจกต์จะต้องทำงานร่วมกับ Ethereum ซึ่ง Blockchain อื่น ๆ นั้นไม่ตรงกับความต้องการ โดยการค้นหาความสมดุลระหว่างความสามารถในการปรับแต่งได้เอง และการทำงานร่วมกันระหว่าง Blockchain หลายตัวนั้นเป็นสิ่งที่มีความท้าทายสูง โดย Avalanche ได้นำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้ Subnet หรือ Custom App-Specific Blockchain ที่สามารถแชร์ความปลอดภัย ความเร็ว และความเข้ากันได้ของเครือข่ายหลักให้กับเครือข่ายย่อยได้

Avalanche ทำงานอย่างไร?

Avalanche ประกอบด้าน Blockchain 3 Blockchain หลักได้แก่ X-Chain, C-Chain และ P-Chain

Exchange Chain (X-Chain) ใช้สำหรับสร้างและแลกเปลี่ยนเหรียญ AVAX รวมไปถึงสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ โดยมีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมชำระเป็นเหรียญ AVAX ซึ่งใน Blockchain ใช้โปรโตคอลฉันทามติ Avalanche

Contract Chain (C-Chain) เป็นที่ที่นักพัฒนาสามารถสร้าง Smart Contract สำหรับ Decentralized Application (dApp) โดย Blockchain นี้ได้นำ Ethereum Virtual Machine (EVM) เข้ามาใช้ ซึ่งทำให้ dApp สามารถใช้งานร่วมกับ EVM ได้ โดยเวอร์ชันแก้ไขของโปรโตคอลฉันทามติ Avalanche นี้เรียกว่า Snowman

Platform Chain (P-Chain) คอยติดตาม Validator ของเครือข่าย ติดตาม Subnet ที่มีการใช้งาน และอนุญาตให้มีการสร้าง Subnet ใหม่ โดย P-Chain ยังได้ใช้ Snowman อีกด้วย

เนื่องจาก Blockchain แต่ละ Blockchain มีบทบาทที่แตกต่างกัน Avalanche จึงได้มีการปรับปรุงความเร็วและความสามารถในการปรับขนาดเมื่อเทียบกับการรันกระบวนการทำงานทั้งหมดไว้บน Blockchain เดียว นักพัฒนา Avalanche ได้ปรับแต่งกลไกฉันทามติให้กับความต้องการของแต่ละ Blockchain โดยผู้ใช้ต้องใช้เหรียญ AVAX ในการ Stake และชำระค่าธรรมเนียมเครือข่าย ทำให้ระบบนิเวศมีสินทรัพย์ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้

กลไกฉันทามติของ Avalanche ทำงานอย่างไร?

ระหว่างโปรโตคอลฉันทามติทั้งสองของ Avalanche มีความคล้ายคลึงกัน ระบบแบบนี้เป็นเหตุผลพื้นฐานสำหรับการปรับปรุงความสามารถในการขยายขนาดและความเร็วของการทำธุรกรรมในเครือข่าย

Avalanche

โปรโตคอลฉันทามติ Avalanche ไม่ต้องการผู้นำในการเข้าถึงฉันทามติ เช่น Proof of Work (PoW), Proof of Stake (PoS) หรือ Delegated Proof of Stake (DPoS) ปัจจัยเหล่านี้ช่วยเพิ่มการกระจายอำนาจของเครือข่าย Avalanche โดยที่ไม่ลดทอนความสามารถในการปรับขนาด ในทางตรงกันข้าม PoW, PoS และ DPoS นั้นสุดท้ายแล้วเป็นเพียงแค่การทำธุรกรรมของผู้ดำเนินการคนหนึ่งที่สามารถตรวจสอบโดยคนอื่นได้

Avalanche ได้ใช้กราฟระบุทิศทาง (DAG) นำมาปรับใช้กับโปรโตคอลฉันทามติ โดย DAG นั้นได้อนุญาตให้เครือข่ายสามารถประมวลผลธุรกรรมแบบคู่ขนานได้ โดย Validator จะสำรวจตัวอย่างของ Validator คนอื่น ๆ เพื่อพิจารณาว่าธุรกรรมที่เกิดขึ้นใหม่นั้นมีความถูกต้องหรือไม่ หลังจากสุ่มตัวอย่างย่อยซ้ำ ๆ จำนวนหนึ่ง ในทางสถิติก็ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นไปไม่ได้ที่ธุรกรรมทั้งหมดจะเป็นเท็จ

ธุรกรรมทั้งหมดจะได้รับการสรุปโดยที่ไม่ต้องมีการยืนยันใด ๆ การรัน Validator Node และการตรวจสอบธุรกรรมนั้นมีข้อกำหนดในด้านของฮาร์ดแวร์ต่ำและสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งจะช่วยในเรื่องของประสิทธิภาพ การกระจายอำนาจ และการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Snowman

โปรโตคอลฉันทามติ Snowman สร้างขึ้นบนโปรโตคอลฉันทามติ Avalanche แต่มีการเรียงธุรกรรมแบบเส้นตรง ซึ่งคุณสมบัตินี้มีประโยชน์เมื่อใช้กับ Smart Contract โดย Snowman จะสร้าง Block ต่างจากโปรโตคอลฉันทามติ Avalanche

เหรียญ AVAX

เหรียญ AVAX เป็น Native Token ของ Avalanche โดยมีอุปทานสูงสุดจำกัดอยู่ที่ 720 ล้านเหรียญ ค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ใช้จ่ายในเครือข่ายจะถูกเผาทั้งหมด ซึ่งเป็นการทำให้เหรียญเกิดภาวะเงินฝืดมากขึ้น จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน Avalanche ในวงกว้าง โดยเหรียญ AVAX มี Use Case ในการใช้หลัก ๆ อยู่ 3 Use Case ได้แก่

  1. ผู้ใช้สามารถ Stake เหรียญ AVAX ของตัวเองเพื่อเป็น Validator หรือการมอบหมายหน้าที่ให้กับ Validator โดย Validator สามารถได้รับรายได้ 10% ต่อ Annual Percentage Yield (APY) และสามารถกำหนดเปอร์เซ็นต์ค่าธรรมเนียมของรางวัลที่เก็บไว้จาก Delegator ที่ให้การสนับสนุนตัวเองได้
  2. เหรียญ AVAX ทำหน้าที่เป็นหน่วยทั่วไปของบัญชีสำหรับทุก Subnet ช่วยปรับปรุงความสามารถในการทำงานร่วมกัน
  3. ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมและการสมัคร Subnet จะใช้ AVAX ในการชำระ

การ Stake เหรียญ AVAX

ผู้ถือเหรียญ AVAX สามารถได้รับรางวัลโดยการเป็น Validator หรือการ Stake เหรียญกับ Validator การเป็น Validator นั้นจะต้องมีการ Stake เหรียญ AVAX 2,000 เหรียญ

ความต้องการของฮาร์ดแวร์นั้นต่ำนั้นเพียงพอที่แล็ปท็อปหรือเดสก์ท็อปมาตรฐานส่วนใหญ่สามารถนำมาทำการตรวจสอบความถูกต้องได้ ผู้ใช้ยังสามารถ Stake เหรียญ กับ Validator แล้วรับรางวัลเมื่อ Validator ยืนยันธุรกรรมได้สำเร็จสิ้น

Customizable Avalanche Blockchain

Avalanche มีฟังก์ชันการทำงานที่คล้ายกันกับ Ethereum และ Layer-1 Blockchain อื่น ๆ โดยนักพัฒนาสามารถสร้างเหรียญ NFT และ dApp ซึ่งผู้ใช้งานสามารถ Stake เหรียญ ตรวจสอบธุรกรรม และใช้ dApp มากกว่า 400 dApp โดยประโยชน์ของ Avalanche นั้นมาจากการปรับปรุงความสามารถเหล่านี้ ในฐานะคุณสมบัติพิเศษ Avalanche ยังอนุญาตให้สร้าง Blockchain ที่สามารถกำหนดได้เองที่สามารถทำงานร่วมกันได้ซึ่งเรียกว่า Subnet

Blockchain ที่สามารถปรับแต่งได้เองโดยการใช้ Subnet ที่มีความสามารถในการปรับขนาดสูงนั้นเหมาะสมกับความต้องการขององค์กรขนาดใหญ่ และใครหลาย ๆ คนก็ได้สร้าง Subnet แล้ว ซึ่ง Subnet นั้นสะดวกสำหรับองค์กรขนาดใหญ่และผู้ประกอบการอิสระขนาดเล็กโดย Blockchain ที่สามารถปรับแต่งได้เองเหล่านี้สามารถโต้ตอบกับผู้อื่นในระบบนิเวศได้ และยังช่วยยกระดับความปลอดภัยของเครือข่ายหลักของ Avalanche

Avalanche มี Avalanche Virtual Machine (AVM) เป็นของตัวเองซึ่งมีความเข้ากันได้กับ EVM โดยนักพัฒนาที่คุยเคยกับภาษา Solidity ของ Ethereum สามารถใช้ Avalanche และ Port โปรเจกต์ที่มีอยู่ใน Ethereum มา Avalanche  ได้อย่างง่ายดาย

Avalanche แตกต่างจาก Scalable Blockchain อื่น ๆ อย่างไร

โดยปัญหาที่กำลังนำมาพูดถึงนั้นไม่ได้เป็นเฉพาะแต่ Avalanche เท่านั้น ซึ่ง Avalanche กำลังแข่งขันกับแพลตฟอร์มที่มีความสามารถในการปรับขนาดแพลตฟอร์มอื่น ๆ และ Blockchain ที่สามารถทำงานร่วมกันได้ เช่น Ethereum, Polkadot, Polygon และ Solana ซึ่งเราจะมาดูกันว่า Avalanche แตกต่างจาก Blockchain ที่กล่าวมาเหล่านี้อย่างไร

กลไกฉันทามติ

โดยความแตกต่างที่สำคัญที่สุดก็อาจจะเป็นฉันทามติของ Avalanche อย่างไรก็ตาม Avalanche ไม่ใช่ Blockchain เดียวที่มีกลไกฉันทามติที่ไม่เหมือนใคร โดย Solana มี Proof of History (PoH) ที่ได้อ้างว่าสามารถรองรับการทำธุรกรรมได้ถึง 50,000 TPS (ธุรกรรมต่อวินาที) ซึ่งมากกว่าที่ Avalanche อ้างไว้โดยของ Avalanche อยู่ที่ 6,500 TPS อย่างไรก็ตาม TPG เป็นเพียงแค่ตัวชี้วัดหนึ่งสำหรับการประเมินความเร็วของเครือข่ายและตัวชี้วัดนี้ไม่สามารถพิจารณาถึงการยืนยันความสมบูรณ์ของ Block

ความเร็วของธุรกรรมและการเสร็จสิ้นของธุรกรรม

ความแตกต่างที่สามารถเห็นได้ชัดอีกอย่างหนึ่งก็คือ Finality Time ของ Avalanche อยู่ที่น้อยกว่า 1 วินาที ซึ่งหมายถึงความว่า TPS เป็นเพียงแค่ตัววัดเดียวในการวัดความเร็ว นอกจากนี้เรายังต้องคำนึงถึงเวลาที่ใช้ได้การรับประกันว่าธุรกรรมนั้นจะเสร็จสิ้นและไม่สามารถทำการย้อนกลับหรือเปลี่ยนแปลงได้ หากเราสามารถประมวลผลธุรกรรม 1 แสนรายการต่อวินาทีและเกิดความล่าช้าในการจบธุรกรรมขั้นสุดท้าย เครือข่ายก็ยังมีความช้าลง โดย Avalanche ได้อ้างว่ามี Finality Time ที่เร็วที่สุดในอุตสาหกรรม

การกระจายอำนาจ

หนึ่งในการกล่าวอ้างที่ใหญ่ที่สุดของ Avalanche คือการกระจายอำนาจ เมื่อพิจารณาถึงขนาดและอายุแล้ว Avalanche มี Validator อยู่จำนวนมาก (1,300+ คนในเดือนเมษายน 2022) อันเนื่องมาจากข้อกำหนดขั้นต่ำในการเป็น Validator ที่มีความสมเหตุสมผล อย่างไรก็ตามเนื่องจากเหรียญ AVAX มีราคาสูงขึ้น การเป็น Validator จึงแพงขึ้น

Blockchain ที่มีความสามารถในการทำงานร่วมกันได้

Blockchain ที่มีความสามารถในการทำงานร่วมกันได้ของ Avalanche นั้นยังไม่มีการจำกัดจำนวนไว้อีกด้วย ซึ่งนี่เป็นการแข่งขันโดยตรงกับ Polkadot ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโปรเจกต์ที่ได้มีการนำเสนอ Blockchain ที่สามารถปรับแต่งและทำงานร่วมกันได้ โดย Polkadot มีพื้นที่จำกัดในการประมูล Parachain Slot ในขณะที่ Avalanche ใช้งานได้โดยมีค่าธรรมเนียมการ Subscription ที่มีความเรียบง่าย

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Binance Academy (2022) What Is Avalanche (AVAX)?, Available at: https://academy.binance.com/en/articles/what-is-avalanche-avax (Accessed: 19th April 2022).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *