มาดูกันว่า Theta Network คืออะไร? เหรียญ THETA ใช้ทำอะไรบ้าง?

Theta Network

          สวัสดีครับ อุตสาหกรรม Live Streaming เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมบนโลกอินเทอร์เน็ตที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยในปี ค.ศ. 2016 มีมูลค่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี ค.ศ. 2021 มีมูลค่าถึง 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

          ปัจจุบันผู้บริโภคในอุตสาหกรรมนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งรับชมแบบรายการสดและรายการที่อัดไว้ล่วงหน้าผ่าน YouTube, Vimeo, Netflix และแพลตฟอร์มอื่น ๆ จำนวนหนึ่ง

          สำหรับสนามถัดไปของ Online Streaming อาจจะเป็นแพลตฟอร์มให้บริการวิดีโอที่ทำงานโดย Blockchain ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ Theta Network และมี Governance Token ชื่อ THETA ซึ่งในปัจจุบันเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าทางตลาดอันดับที่ 44 ของโลก ในบทความนี้เราก็จะมาดูกันว่า Theta Network คืออะไร? เหรียญ THETA ใช้ทำอะไรบ้าง?

Theta คืออะไร

          Theta เป็น Native Blockchain ที่ใช้โปรโตคอลแบบ Open Source ซึ่งหมายความว่าจะช่วยให้นักพัฒนาและพาร์ทเนอร์สามารถสร้าง Decentralized Application (dApp) บนเครือข่ายได้เหมือนกับเครือข่าย Ethereum

          Theta เป็นเครือข่ายให้บริการด้านการส่งวิดีโอ Peer-to-Peer (P2P) แบบกระจายอำนาจที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี Blockchain ทำให้สามารถจัดส่งเนื้อหาที่มี Bandwidth สูงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ หากพูดถึงในฐานะผู้ใช้ที่ดูวิดีโอนั้น พลังในการประมวลผลส่วนหนึ่งของผู้ใช้จะถูกควบคุมเพื่อช่วยให้การส่งต่อวิดีโอไปให้กับผู้ใช้คนอื่น ซึ่งผู้ใช้จะได้รับเหรียญเป็นรางวัลตอบแทน

          Theta Network ตั้งเป้าไว้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีเพื่อความบันเทิงในรุ่นต่อไป โดยการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน Video Streaming แบบกระจายอำนาจ ซึ่งมีราคาถูกกว่าแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์ของคู่แข่ง โดยแพลตฟอร์มการส่งวิดีโอแบบ Peer-to-Peer นั้นจะถูกขับเคลื่อนโดยผู้ใช้และยังมีเนื้อหาหลากหลายประเภท เช่น อีสปอร์ต ละคร และเพลง

Mitch Liu

Mitch Liu, Co-  Founder

ประวัติของ Theta

          Theta ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2017 โดย Mitch Liu ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่เคยร่วมก่อตั้ง Start Up เกมบนสมาร์ตโฟนและโฆษณาออนไลน์ และ Jieyi Long ผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี Virtual Reality Live Streaming

          ในปี ค.ศ. 2017 ทีมงานที่อยู่เบื้องหลังของ Theta ได้เป็นโฮสต์ในการขายเหรียญรอบ Private sale ซึ่งขายไปเป็นจำนวน 30% ของอุปทานเหรียญทั้งหมดที่มีอยู่ 1 พันล้านเหรียญ ซึ่งระดมทุนสำหรับการเริ่มทำโครงการไปได้มากกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

          Theta Labs เป็นบริษัทที่อยู่เบื้องหลังของ Theta Network ยังมีเว็บไซต์ Streaming ของตัวเองชื่อ Theta.tv โดยเว็บไซต์จะชำระเงินให้กับคนดูวิดีโอด้วยเหรียญ TFUEL ในขณะที่ดูนั้นสามารถส่งต่อวิดีโอที่ดูอยู่ไปให้กับคนอื่นได้

          บอร์ดที่ปรึกษาของ Theta Network นั้นประกอบไปด้วย Justin Kana ผู้ร่วมก่อตั้ง Twitch, Steve Chen ผู้ร่วมก่อตั้ง YouTube และผู้บริหารระดับสูงของ Verizon อีกจำนวนหนึ่ง

Theta ทำงานอย่างไร

          เครือข่าย Blockchain ของ Theta ใช้โปรโตคอลแบบ P2P ที่จะช่วยให้ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมสำหรับการกระจายเนื้อนั้นได้รับรางวัลแบบเรียลไทม์ เครือข่ายยังช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้าง dApp บนโปรโตคอล Blockchain แบบ Open-Source ได้เช่นกัน

          Theta ได้ใช้ฉันทามติแบบ Proof-of-Stake (PoS) ที่คล้ายกับโปรโตคอล Blockchain ของ Tendermint ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการ Stake นั่นหมายถึงผู้ที่ล็อกเหรียญ THETA จำนวนมากจะได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการ Block ธุรกรรม

          เครือข่ายของ Theta นั้นถูกขับเคลื่อนโดยผู้มีส่วนร่วมสามประเภท

Enterprise Validator Node

          บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทที่ Stake เหรียญ THETA เพื่อดำเนินการธุรกรรมบนเครือข่าย ซึ่งเป็นบริษัทที่เรารู้จักกันดีได้แก่ Sony, Creative Artists Agency, Google, and Samsung Validator Node นั้นเป็นแนวป้องกันแรกของเครือข่ายและต้องการให้ผู้มีส่วนร่วม (บริษัท) Stake เหรียญ THETA ทั้งหมด 1 ล้านเหรียญ

Guardian Node

          Guardian Node เป็น Node ชุมชนที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาฉันทามติโดยการตรวจสอบความถูกต้องใช้จุดที่ถูกกำหนดไว้ Guardian Node เป็นผู้ใช้ที่ต้องการมั่นใจว่า Block ธุรกรรมที่ถูกสร้างโดย Enterprise Validator Node นั้นทำงานได้อย่างถูกต้อง โดยการเพิ่มการรักษาความปลอดภัย Layer ที่ 2 ให้กับโปรโตคอล หากมี Block ที่ประสงค์ร้ายลอดผ่านการตรวจจับของ Validator Node นั้น Guardian Node จะทำการหยุด Block ดังกล่าวไว้ โดย การเป็น Guardian Node นั้นผู้ใช้ต้องทำการ Stake เหรียญ THETA ทั้งหมด 1,000 เหรียญ

Edge Node

          Edge Node อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถถ่ายทอด Video Stream และแบ่ง Bandwidth สำหรับการ Stream บน Theta.tv ได้ ผู้ใช้จะได้รับรางวัลเป็นเหรียญ TFEL สำหรับการสนับสนุนเครือข่าย โดย Theta ให้ผู้ใช้ Stream แบบ P2P ได้โดยไม่ต้องใช้เครือข่ายการส่งเนื้อหาแบบรวมศูนย์

เหรียญ THETA และ TFEL ของ Theta ใช้ทำอะไรบ้าง

          หนึ่งในฟีเจอร์หลักที่ทำให้ Theta มีความโดดเด่นนั้นก็คือการมี Native Token 2 เหรียญ ได้แก่ TFEL ซึ่งมูลค่าในปัจจุบันอยู่ที่ 0.13 ดอลลาร์สหรัฐต่อเหรียญ และมีมูลค่าทางตลาดอยู่ที่ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ THETA มีมูลค่าในปัจจุบันอยู่ที่ 2.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อเหรียญ มีมูลค่าทางตลาดอยู่ที่ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

          ผู้ที่มีส่วนร่วมในเครือข่าย Theta Network ที่เป็น Edge Node ที่ช่วยแชร์วิดีโอจะได้รับรางวัลเป็น TFUEL สำหรับการ Stream ของพวกเขา โดยทางแพลตฟอร์มนั้นจะจ่ายให้สำหรับการกระจายเนื้อหา ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ปลายทางสามารถใช้บริการนี้ได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

          โดยปกติแล้ว Edge Node จะไม่ Stream วิดีโอแบบเต็ม แต่จะค่อย ๆ เพิ่มดังนั้นผู้ใช้ปลายทางจึงต้องดู Stream ผ่านทาง Node ชุมชนหลาย ๆ Node ถ้า ผู้ใช้ Torrent ได้รับเงินสำหรับการ Seed เนื้อหา และการมีส่วนร่วมในการเพิ่มความเร็วการโหลดให้กับผู้ใช้คนอื่นซึ่งคล้าย ๆ กับ BitTorrent

          THETA เป็นสกุลเงินดิจิทัลตัวที่สองของเครือข่าย Theta ซึ่งเป็น Governance Token ที่ถูกออกแบบมีเพื่อช่วยการจัดการและการพัฒนาในอนาคตของ Blockchain โดย THETA มีอุปทานคงที่อยู่ที่ 1 พันล้านเหรียญ ซึ่งการมีอุปทานคงที่ก็เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ

          สามารถ Stake เหรียญ THETA เพื่อรับเหรียญ TFEL เป็นรางวัลได้ แต่ผู้ใช้จะต้องมีเหรียญ THETA อย่างน้อย 1,000 เหรียญ ในการเป็น Edge Node และ 1 ล้านเหรียญในการเป็น Enterprise Validator Node

ความคิดเบื้องหลัง Theta

          Theta พยายามที่จะเปลี่ยนอนาคตของแพลตฟอร์มวิดีโอโดยการใช้เทคโนโลยี Blockchain และ Validator ของเครือข่าย ซอฟต์แวร์นี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนเครือข่ายผู้ใช้ทั่วโลกเพื่อสร้างการสนับสนุนแพลตฟอร์ม Video Streaming แบบกระจายอำนาจ

          ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีจะมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก แต่คุณภาพ Video Streaming และระยะเวลาที่ใช้ในการอัปโหลดนั้นไม่ตรงตามความคาดหวังของผู้ชมทั่ว ๆ ไป เนื่องจากแพลตฟอร์ม Video Streaming และเครือข่ายการกระจายเนื้อหานั้นถูกจำกัดโดยตำแหน่งที่เซิร์ฟเวอร์ตั้งอยู่ เครือข่ายการกระจายเนื้อหาโดยทั่ว ๆ ไปนั้นจะได้รับค่าตอบแทนเมื่อส่งวิดีโอไปยังผู้ใช้ปลายทาง แต่เซิร์ฟเวอร์ส่วนกลางนั้นไม่สามารถตอบสนองให้ทันกับความต้องการและคุณภาพของ Streaming ของผู้ใช้ที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้

          Theta ได้ตั้งเป้าหมายว่าต้องการที่จะเชื่อมช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างคุณภาพของ Video Streaming และความเร็วโดยการทำให้เครือข่ายของผู้ใช้ทั่วโลกสามารถถ่ายทอดวิดีโอโดยที่ใช้พลังในการประมวลผลและ Bandwidth สำรองได้ ยิ่งมีผู้ใช้บนเครือข่ายมากเท่าไร Bandwidth สำหรับ Video Streaming ก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็ว Streaming และคุณภาพของวิดีโอด้วย

          Theta ช่วยให้ Content Creator สามารถควบคุมและการสร้างรายได้จากเนื้อหาได้ดีขึ้น ซึ่งอาจจะช่วยให้เครือข่ายได้รับความนิยมมากขึ้น นักลงทุนเชื่อในอนาคตของแพลตฟอร์ม Video Streaming ที่ใช้ร่วมกันนั้นจะถูกสร้างขึ้นมาจากเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งในนั้นก็จะมี Theta อยู่ด้วย

ทำไมการอัปเดตเครือข่ายหลักของ Theta ถึงสำคัญ

          การอัปเดต Mainnet 3.0 ของ Theta นั้นได้นำเสนอการ Stake เหรียญ TFUEL และ Uptime Mining ซึ่งเป็นหนึ่งในการอัปเดตโปรโตคอลที่มีคนคาดหวังมากที่สุดใน Theta Network

          หลังจากการอัปเดตนั้น Edge Node ของ Theta จะเริ่มเผา TFUEL ที่ใช้เป็นการชำระค่าบริการต่าง ๆ ให้กับเครือข่ายอย่างน้อย 25% ซึ่งหมายความว่าเหรียญเหล่านี้จะถูกนำออกจากอุปทานหมุนเวียนไปโดยสิ้นเชิง ค่าธรรมเนียมของ Smart Contract และค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมนั้นก็จะถูกเผาเพื่อต่อสู้กับโอกาสที่ TFUEL จะเฟ้อได้ และช่วยเพิ่มความขาดแคลนให้กับเหรียญอีกด้วย

          การเปิดตัว Mainnet 3.0 จะเพิ่มค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมของโปรโตคอล Theta ในระดับปานกลาง เนื่องจากเครือข่ายมีเป้าหมายในการปรับมูลค่าให้สอดคล้องกับปริมาณในการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นบน Blockchain

          Theta Labs ได้เขียนไว้บนเว็บไซต์ Medium ว่า “ปัจจุบันค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นบนเครือข่าย Theta นั้นเกือบจะเท่ากับศูนย์ หลังจากที่มีข้อเสนอในการปรับค่าธรรมเนียมเพิ่มมากขึ้น ก็ได้เริ่มปรับค่าธรรมเนียมซึ่งก็น่าเพียงพอสำหรับ Smart Contract และ dApp โดยค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมอยู่ที่ TFUEL 0.3 เหรียญ และสำหรับการ Deploy Smart Contract นั้นอยู่ที่ TFUEL 20 เหรียญ ในส่วนของการใช้งาน Smart Contract นั้นจะอยู่ที่ TFUEL 1 เหรียญ”

          เนื่องจากโปรโตคอลได้เริ่มกลายเป็นระบบกระจายอำนาจเต็มที่อย่างรวดเร็ว ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นนั้นจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในกับเครือข่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการโจมตีด้วยการสแปมโดยการทำธุรกรรมขนาดเล็กติดต่อกัน เพื่อทำให้เครือข่ายเกิดความแออัดและหยุดการสร้าง Block ซึ่ง Theta หวังว่าการเพิ่มค่าธรรมเนียมนั้นจะช่วยป้องกันการโจมตีดังกล่าวโดยการทำให้ค่าใช้จ่ายในการโจมตีเพิ่มสูงขึ้น

          Mainnet 3.0 ยังได้ทำการ Stake เหรียญ TFUEL และ Sink TFUEL เป็นการชั่วคราว นอกเหนือไปจากค่าธรรมเนียมของเครือข่ายและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม ซึ่งนำไปสู่โมเดลภาวะเงินฝืดในระยะยาว

          Theta Labs ได้เขียนไว้บนเว็บไซต์ Medium ว่า “พวกเราได้คาดหวังในโมเดลภาวะเงินฝืด เนื่องจาก เหรียญ TFUEL จะถูกเผาและถูกนำออกจากอุปทานหมุนเวียนอย่างถาวร สุดท้ายสิ่งเหล่านี้ก็จะนำไปสู่ความสมดุลและความเหมาะสม โดยมูลค่าของเหรียญ TFUEL มีความเสถียรและมีมูลค่ามากที่สุด”

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Kriptomat (2021) What is cryptocurrency Filecoin and how does it work?, Available at: https://kriptomat.io/cryptocurrencies/filecoin/what-is-filecoin/ (Accessed: 25th January 2022).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *