สรุป …โครงการ “ช้อปดี มีคืน”…


ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า มาตราการ “ช้อปดี มีคืน” น่าจะเอื้อประโยชน์กับผู้บริโภคที่มีรายได้มากกว่า 500,000 หรือ 42,000 บาทขึ้นไปต่อปี จากการสำรวจพฤติกรรมพบว่า ผู้บริโภคสนใจใช้สิทธินี้ มากกว่า 70% ของผู้ทำแบบสอบถามทั้งหมด ขณะที่ ผู้บริโภครายได้น้อยกว่า 500,000 บาทต่อปี ส่วนใหญ่กังวลกำลังซื้อในอนาคต ทั้งที่โดยปกติภาษีก็ไม่ได้สูงมากนัก จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อลดหย่อนภาษี 

สินค้าและบริการนิยม 3 อันดับแรก

ซึ่งโดยปกติผู้บริโภคมีการรับประทานอาหารและซื้อสินค้าในกลุ่มของใช้จำเป็นส่วนตัวอยู่แล้ว จึงไม่ได้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าช่วงที่ไม่มีมาตรการฯ มากนัก แต่กลุ่มสินค้าอุปกรณ์ไอที ได้รับความสนใจจากกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานมากกว่าช่วงที่ไม่มีมาตรการฯ โดยผู้บริโภคจะวางแผนใช้จ่ายในส่วนของห้างสรรพสินค้า เพราะห้างสรรพสินค้าเป็นศูนย์รวมของสินค้า บริการ อาหาร และอื่นๆ

ดังนั้น จากการวิจัยคาดว่า แรงส่งจากมาตราการ “ช้อปดีมีคืน” และ “คนละครึ่ง” เป็นมาตราการช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายส่งท้ายปี 2563 นี้ 

อ้างอิงบทความจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2020) ‘ช้อปดีมีคืน’ มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายส่งท้ายปี’ 63… คาดหนุนยอดขายร้านอาหารและสินค้าไอทีเพิ่มขึ้น (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3149), Available at: https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/z3149-Shop.aspx (Accessed: 20 November 2020).

สรุปสาระสำคัญจาก ภูมิ

บทความอื่น ๆ : Economics & Finance Archives – (kamonnat-ai.com)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *