มาดูกันว่า Fantom คืออะไร? เหรียญ FTM ใช้ทำอะไรบ้าง?

Fantom

          สวัสดีครับ เครือข่าย Blockchain หลายเครือข่ายได้เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยความหวังที่ว่าจะสามารถมีประสิทธิภาพดีกว่าเครือข่าย Ethereum และมีอีกหนึ่งเครือข่ายที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาและปรับปรุงในดีกว่า Ethereum ซึ่งก็คือ Fantom

          เครือข่าย Fantom เป็นเครือข่ายที่เน้นไปยังเรื่องของความสามารถในการปรับขนาดเครือข่าย ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่าเครือข่าย Fantom เป็นอย่างไร คล้ายกับเครือข่ายอื่น ๆ อย่างไรบ้าง รวมไปถึงความแตกต่างกับเครือข่ายอื่น ๆ

Fantom คืออะไร

          Fantom เป็น Blockchain แบบ Open-Source และ Blockchain สาธารณะที่รองรับปริมาณการทำธุรกรรมที่สูง ถูกสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ Smart Contract สำหรับ Decentralized Application (dApp) ให้ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ Fantom จึงมีฟีเจอร์มากมาย นอกจากนี้ Fantom ยังมี Native ERC-20 Token เป็นของตัวเองอีกด้วย

          Fantom เกิดขึ้นในตอนที่ตลาด Decentralized Finance (DeFi) เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผู้ใช้หลาย ๆ คนบน Ethereum ค่อนข้างรู้สึกหงุดหงิดกับค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่แสนแพงซึ่งเกิดจากความหนาแน่นเครือข่าย ซึ่งในช่วงเวลานั้น ได้มีเครือข่ายเกิดใหม่เกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ โดยมีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่ต่ำกว่ามาก

          เครือข่าย Fantom ได้รวมเข้ากับผู้ให้บริการการแก้ไขปัญหารายใหญ่ที่สุดหลายราย ซึ่งรวมไปถึง Chainlink, Ren, Band Protocol, the Graph และ Waves

Dr. Ahn Byung Ik

Dr. Ahn Byung Ik ,Founder

          Fantom Founder ถูกก่อตั้งโดย Dr. Ahn Byung Ik นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวเกาหลีใต้เมื่อปี ค.ศ. 2018 Fantom Founder ได้รับเงินระดมทุนรอบที่สองไปกว่า 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Fantom (FTM) ทำงานอย่างไร

          Fantom ได้ใช้โปรโตคอลฉันทามติ Asynchronous Byzantine Fault Tolerance (aBFT) เพื่อบรรลุเป้าหมายในการรองรับปริมาณการทำธุรกรรมสูง ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมต่ำ ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ โดยมีหลักการออกแบบทั้งสี่เป็นตัวช่วยสนับสนุน Fantom ได้แก่ ความสามารถในการปรับขนาด ความปลอดภัย ความเป็นโมดูลาร์ และธรรมชาติของ Open-Source ซึ่งการออกแบบแบบนี้ช่วยรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายในระดับสูงในขณะที่ยังช่วยให้สามารถปรับขนาดของเครือข่ายและกระจายอำนาจได้

          Lachesis Mechanism ได้ใช้ Modular Consensus Layer ซึ่งสามารถนำมารวมกับ Distributed Ledger อื่น ๆ ได้ นั่นหมายความว่านักพัฒนาสามารถ Port Ethereum dApp ไปยัง Mainnet ของ Fantom ได้อย่างง่ายดาย

          นอกจานี้ยังมีชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ซึ่งเรียกว่า Fantom Virtual Machine ที่จะอนุญาตให้มีการพัฒนาแบบ Native บน Fantom ด้วยเหตุนี้ทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ บน Fantom และสามารถ Port จาก Ethereum มาได้อย่างง่ายดาย

โครงสร้างและการออกแบบของเครือข่าย Fantom

          Fantom มีไอเดียหลัก ๆ อยู่ไอเดียหนึ่งซึ่งทำให้ Fantom เป็นแบบนี้ในปัจจุบัน โดยเรียกว่า Lachesis

Fantom Lachesis

          Fantom มีโปรโตคอลฉันทามติคือ Proof of Stake (PoS) แต่ไม่มี Leader ใด ๆ เนื่องจาก aBFT Mechanism โดยกลไกนี้เรียกว่า Lachesis ซึ่งทำงานได้ดีกว่าอัลกอริทึม Proof of Work (PoW) ในบางมุม โดย Lachesis นั้นมีประโยชน์หลายประการ รวมไปถึงการทำธุรกรรมที่เสร็จสิ้นจนเกือบจะในทันที ซึ่งระยะเวลาในการทำธุรกรรมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1 วินาที เป็นเหตุผลทำให้ Fantom เป็นเครือข่ายที่เร็วกว่าเครือข่าย Blockchain อื่น ๆ

          ด้วย Lachesis ทำให้แต่ละ Node มี Directed Acyclic Graph (DAG) ของตัวเอง ซึ่งทำให้สามารถบรรลุฉันทามติได้ด้วยตัวของมันเอง จากนั้น Batch เหล่านี้จะถูกจัดเรียงและถูกยืนยันบนเครือข่าย Fantom ซึ่ง Node เหล่านี้จะทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกันเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม

ฟีเจอร์ของ Fantom (FTM)

          ในฐานะที่ Fantom เป็นเครือข่ายที่ได้รับการออกแบบมาใหม่ Fantom จึงที่ฟีเจอร์ที่น่าสนใจบางอย่างดังต่อไปนี้

แพลตฟอร์มการชำระเงินที่รวดเร็ว ปลอดภัย และราคาถูก

          ด้วย aBFT ทำให้ Fantom สามารถชำระเงินได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด ซึ่งเป็นหนึ่งในฟีเจอร์พื้นฐานแต่ก็เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่เป็นผลสืบเนื่องมาเช่นกัน ประสบการณ์ด้วยรวมของ Fantom นั้นค่อนข้างจะดีกว่าเครือข่ายอื่น ๆ เนื่องจากเป็นแนวทางใหม่ในการเข้าถึงฉันทามติ

On-Chain Governance

          Fantom เป็นหนึ่งในเครือข่ายแรก ๆ ที่รองรับ On-Chain Governance การโหวตต่าง ๆ บนเครือข่ายทั้งหมดจะนำเหรียญ FTM เข้ามาใช้ โดยเหรียญ FTM แต่ละเหรียญจะเท่ากับหนึ่งโหวต ผู้ที่ Stake สามารถส่งข้อเสนอซึ่งมีมูลค่า 100 FTM และผู้ถือเหรียญสามารถโหวตข้อเสนอต่าง ๆ ได้ ผู้ใช้สามารถลงคะแนนให้ความเห็นในข้อเสนอได้โดยมีระดับคะแนนอยู่ที่ 0-4 โดยที่ 0 คือไม่เห็นด้วยอย่างมาก และ 4 คือเห็นด้วยอย่างมาก

Liquid Staking

          โครงสร้างการ Stake ของ Fantom นั้นค่อนข้างมีความน่าสนใจ ผู้ใช้สามารถ Stake เหรียญ FTM กับ Validator Node เพื่อรับ Annual Percentage Yield (APY) 4% นอกจากนี้ ยังมี Fantom Fluid Reward เปิดให้ผู้ใช้สามารถ Stake เหรียญเพื่อได้รับผลตอบแทนโดยมีระยะเวลาการล็อกตั้งแต่ 2 สัปดาห์ไปถึงหนึ่งปี โดย APY สูงสุดที่สามารถได้รับจะอยู่ที่ประมาณ 13%

          ในทางกลับกัน Fantom Fluid Reward ช่วยให้ผู้ที่ใช้สามารถ Mint เหรียญ sFTM ในอัตราส่วน 1:1 ของเหรียญ FTM เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันใน Fantom Finance โดย Fantom Finance เป็นแอปพลิเคชัน DeFi ที่ถูกสร้างขึ้นบน Fantom โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการ Stake เหรียญของตนเอง

Use Case ของ Fantom Coin (FTM)

          Fantom Coin หรือ FTM มี Use Case ที่แตกต่าง Use Case ของเครือข่ายอื่นเล็กน้อย โดย Use Case หลัก ๆ นั้นได้แก่

Compensating Validator

          Validator นั้นมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศของ Fantom นอกจากไอเดียเกี่ยวกับธุรกรรมแล้วนั้น Fantom จะแจกรางวัลสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การป้องกันการสแปมธุรกรรม ซึ่งรางวัลทั้งหมดจะถูกแจกจ่ายเป็นเหรียญ FTM เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เครือข่ายสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

Governance Activity

          เหรียญ FTM สามารถนำไปใช้สำหรับการพัฒนาและพารามิเตอร์ของเครือข่าย Governance เป็นหนึ่งในการใช้งานหลักของเหรียญ FTM เช่นเดียวกับโครงการอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Noah Fields (2021) Fantom — A Competing Dapp-Focused Network, Available at: https://komodoplatform.com/en/academy/what-is-fantom-ftm/ (Accessed: 15th January 2022).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *