มาดูกันว่า Near Protocol คืออะไร? เหรียญ NEAR ใช้ทำอะไรบ้าง?

NEAR

          สวัสดีครับ ในปัจจุบัน Blockchain และ Smart Contract นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไปซึ่งมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 ตั้งแต่มีการเปิดตัว Ethereum Mainnet (เครือข่ายอย่างเป็นทางการ) และในขณะนี้ก็มีแพลตฟอร์มที่คล้ายกันเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา

          ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีความต้องการแอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (dApp) เพิ่มขึ้นมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และนักพัฒนากำลังปรับปรุงและพัฒนา dApp อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้มีความสามารถใหม่ ๆ เข้ามามากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ด้วยจุดเสียหลัก ๆ ที่ยังคงมีอยู่ทำให้ dApp ยังถูกจำกัดการนำเข้ามาปรับใช้กับสิ่งต่าง ๆ

          NEAR ซึ่งมาทีหลังนั้นกำลังมองหาวิธีการจัดการกับข้อจำกัดของระบบเก่า ๆ ผ่านแพลตฟอร์ม Blockchain แบบ Shard (การกระจายการประมวลผลธุรกรรมไปยัง Node อื่น ๆ ในเครือข่าย) ซึ่งขับเคลื่อนโดยชุมชน โดยมีความสามารถหลักในการทำงานร่วมกันและความสามารถในการปรับขนาดได้

          ในบทความนี้ เราจะมาดูเกี่ยวกับ Near Protocol และเหรียญ NEAR ว่าสามารถเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง

Near Protocol คืออะไร

          NEAR เป็นแพลตฟอร์มการพัฒนาแบบกระจายศูนย์ที่ออกแบบมาเพื่อเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับ dApp โดยการกำจัดข้อจำกัดบางประการของระบบการแข่งขันโดยเสรี เช่น ปริมาณการทำธุรกรรมต่ำ เครือข่ายทำงานได้ช้า และความเข้ากันได้กับระบบต่าง ๆ ต่ำ

          NEAR Protocol เป็นเครือข่ายที่เป็นมิตรต่อนักพัฒนาซึ่งทำงานแบบ Proof-of-Stake (POS) โดยการรวมเอานวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดและลดค่าต้นทุนของนักพัฒนาและผู้ใช้ โดยนวัตกรรมใหม่นี้รวมไปถึงการใช้ Shard เฉพาะของตัวเอง และกลไกฉันทามติใหม่ที่เรียกว่า Doomslug

          ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยชุมชนนักวิจัย นักพัฒนา และนักคิดทั่วโลกที่มีชื่อว่า NEAR Collective โดยเป็นกลุ่มคนที่เขียนโคดเริ่มต้นสำหรับ NEAR Protocol และยังคงสนับสนุนโครงการต่อไปโดยการแก้ไขบัค อัปเดต และสร้างระบบนิเวศ NEAR เนื่องจากโคดของ NEAR เป็นแบบ Open Source ทำให้คนอื่น ๆ ก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา NEAR Protocol ได้

Alexander Skidanov and Ilya Polosukhin

Alexander Skidanov and Ilya Polosukhin, Co-Founder

          NEAR Protocol ถูกสร้างขึ้นโดยอดีตพนักงานของ Microsoft ที่มีชื่อว่า Alexander Skidanov และอดีตพนักงานของ Google ชื่อ Ilya Polosukhin ซึ่งเริ่มโครงการในปี ค.ศ. 2018 จนในปัจจุบันมีพนักงานกว่า 50 คน และรวมไปถึงนักพัฒนาจาก Facebook, Google และ Niantic ตลอดไปจนถึงผู้ชนะเลิศและผู้เข้ารอบสุดท้ายของการแข่งขันรายการกีฬาระดับนานาชาติ โดยมีสมาชิกในทีมสองคนที่ชนะการแข่งขันรายการชิงแชมป์โลกสองครั้งจากเก้าคนในโลก และสมาชิกในทีมเกือบทั้งหมดมาจากสหพันธรัฐรัสเซียและประเทศที่มาจากอดีตสหภาพโซเวียต

Near Protocol ทำงานอย่างไร

          NEAR Protocol นั้นทำงานคล้ายกับ Ethereum, Cardano และ TRON ตรงที่เป็น Blockchain แบบ Base Layer ซึ่งหมายความว่าเป็นรากฐานสำหรับการสร้างและการ Deploy แอปพลิเคชันอื่น ๆ

          โดย NEAR Protocol ได้ใช้เทคโนโลยีที่มีชื่อว่า Nightshade เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณการทำธุรกรรมจำนวนมหาศาลได้ โดยวิธีการแก้ไขปัญหาความสามารถในการปรับขนาดของเครือข่ายนั้นจะสามารถดูการประมวลผลธุรกรรมของ Validator แยกเป็นแต่ละเซตซึ่งเป็นแบบขนานกันบน Blockchain ที่แบ่งเป็น Shard หลาย ๆ Shard เพื่อช่วยปรับปรุงความสามารถในการรองรับปริมาณการทำธุรกรรมโดยรวมของ Blockchain โดยวิธีการแก้ไขปัญหาแบบนี้จะแตกต่างกันไปจากระบบการ Shard ของ Blockchain อื่น ๆ โดยของ NEAR Protocol แต่ละ Shard จะสร้างส่วน ๆ หนึ่งของ Block ต่อไป เรียกว่า Chunk จะถูกประมวลผลและเก็บไว้บน NEAR Blockchain โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เพื่อเป็นยืนยันว่าธุรกรรมนั้นได้ทำเสร็จแล้ว

          NEAR Protocol ถูกสร้างขึ้นเพื่อลดความซับซ้อนของการพัฒนา โดยยังมีเครืองมือสำหรับการสร้างแอปพลิเคชันแบบ Next-Generation ให้นักพัฒนาได้ใช้อีกด้วย เนื่องจาก NEAR ใช้โมเดลแบบ Contract Based Account ซึ่งนักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันแบบ Advance ซึ่งสามารถเซ็นในธุรกรรมในนามของผู้ใช้ได้ ทำให้นักพัฒนาสามารถดำเนินตามข้อตกลงโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องหาเวลามายืนยันข้อตกลงเอง

NEAR แตกต่างจากคนอื่นอย่างไร

          NEAR ได้รับการออกแบบมาให้เป็นแพลตฟอร์มแบบ Next-Generation สำหรับ dApp เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ NEAR ได้จัดการกับปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานใน Blockchain รวมไปถึงปัญหาที่เพิ่มปรากฏขึ้นมาไม่นานนี้

          NEAR นั้นมีการประมวลผลทางธุรกรรมที่เร็วมาก ซึ่งสามารถประมวลได้ถึง 100,000 ธุรกรรมต่อวินาที (TPS) อาจจะเรียกว่าทำธุรกรรมเสร็จโดยที่แทบไม่ต้องเสียเวลารอ จากข้อมูลของ NEAR ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ทำให้ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมนั้นต่ำมาก ซึ่งต่ำกว่าบน Ethereum ถึง 10,000 เท่า

          ถึงแม้ว่า NEAR จะมีข้อได้เปรียบทางเทคนิคซึ่งอาจจะเป็นจุดขายที่ใหญ่ที่สุด แต่ NEAR ก็ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้ที่ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับ Blockchain หรือมีความรู้เพียงเล็กน้อย ซึ่งต้องขอบคุณสิ่งที่เรียกว่า Common Sense Onboarding โดยผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึง dApp ที่สร้างขึ้นบน NEAR ได้โดยกระบวนการต่าง ๆ คล้าย ๆ กับที่ผู้ใช้เคยผ่านมาแล้ว ทำให้สิ่งนี้สามารถช่วยให้นักพัฒนาสามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้มากขึ้น ในขณะที่ยังลดความไม่คุ้นเคยกับผู้ที่คุ้นเคยกับการใช้ dApp อยู่แล้ว

          NEAR ยังได้ให้ Modular Component ต่าง ๆ กับนักพัฒนาเพื่อช่วยให้นักพัฒนาสามารถติดตามการพัฒนาของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว และทำให้โครงการของนักพัฒนาสามารถเริ่มทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการนำตัวอย่างของ Non-Fungible Token (NFT), Faucet, Token Contract, Guest Book และอื่น ๆ อีกมากมายเข้ามาใช้ ซึ่งตัวอย่างและโคดทั้งหมดสามารถพบได้ที่ NEAR Github repo

เหรียญ NEAR เอามาใช้ทำอะไรบ้าง

          เหรียญ NEAR นั้นใช้สำหรับการชำระค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเป็นหลัก และยังเป็นหลักประกันสำหรับการเก็บข้อมูลบน Blockchain รวมไปถึง NEAR ยังให้รางวัลกับผู้ที่ Stake ใน Blockchain ด้วยเหรียญ NEAR สำหรับการใช้บริการ Validator ที่เป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรมจะได้รับเหรียญ NEAR ทุก Epoch เป็นจำนวน 4.5% ของอุปทาน NEAR รายปี

          นอกจากนี้นักพัฒนาที่สร้าง Smart Contract จะได้รับส่วนของค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่นักพัฒนาได้สร้างขึ้น โดยส่วนที่เหลือของค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมในแต่ละครั้งนั้นจะถูกเผา (Burn) ทำให้เหรียญ NEAR ขาดแคลนมากขึ้น โดย NEAR ยังได้ตั้ง Protocol Treasury ซึ่งจะได้รับเหรียญ NEAR 0.5% ของอุปทาน NEAR รายปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำมาลงทุนซ้ำในการพัฒนาระบบนิเวศของตัวเอง

          นอกเหนือจาก NFT NEAR Protocol ยังรองรับสกุลเงินดิจิทัลที่ wrapped จาก Blockchain อื่นด้วย ในทำนองเดียวกับ NEAR ยังได้สร้าง Bridge เชื่อมกับ Ethereum ทำให้ผู้ใช้สามารถโอนเหรียญ ERC-20 จาก Ethereum มา NEAR ได้

NEAR Platform Governance

          ทรัพยากรต่าง  ๆ ที่ถูกจัดสรรให้กับ Protocol Treasury จะถูกแจกจ่ายโดย NEAR Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งทำงานเกี่ยวกับการดูแลรักษาโปรโตคอล การระดมทุนของระบบนิเวศ และแนวทางการกำกับดูแลโปรโตคอล โดยการอัปเกรดทางเทคนิคของเครือข่ายสกุลเงินดิจิทัล NEAR นั้นจะถูกดำเนินการโดย Reference Keeper ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากบอร์ดของ NEAR Foundation ถึงแม้ว่า Node ในเครือข่ายทั้งหมดจะต้องมีการยินยอมให้อัปเกรดซอฟต์แวร์ของพวกเขา แต่สุดท้ายแล้วการกำกับดูแลของ Reference Maintainer จะถูกดำเนินการโดยตัวแทนของชุมชน

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Daniel Phillips (2021) What is Near Protocol?, Available at: https://decrypt.co/resources/what-is-near-protocol (Accessed: 14th January 2022).

อ้างอิงจาก Cryptopedia Staff (2021) What Is NEAR Protocol?, Available at: https://www.gemini.com/cryptopedia/near-protocol-near-token-near-crypto-blockchain (Accessed: 14th January 2022).

อ้างอิงจาก Boostylabs (ม.ป.ป.) WHAT IS NEAR PROTOCOL?, Available at: https://boostylabs.com/cases/near (Accessed: 14th January 2022).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *