มาดูกันว่า Terra คืออะไร? เหรียญ LUNA เป็นอย่างไรบ้าง?

Terra

          สวัสดีครับ Stablecoin ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศของสกุลเงินดิจิทัลซึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างสกุลเงิน Fiat (เงินที่เราใช้กันอยู่) และสกุลเงินดิจิทัล โดยมูลค่าตลาดรวมของ Stablecoin นั้นเพิ่มขึ้นจาก 20,000 ล้านดอลลาร์ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 เป็น 156,200 ล้านดอลลาร์ ในปัจจุบัน

          ท่ามกลางการเติบโตของ Stablecoin ได้มี LUNA ซึ่งเป็นเหรียญของ Terra ได้ทำราคา All Time High ติดต่อกันสามครั้งในเดือนที่ผ่านมาซึ่งรวมไปถึงวันนี้ด้วยเช่นกัน Terra เป็นหนึ่งในเครือข่าย Blockchain แห่งแรกที่ใช้อัลกอริทึมในการสร้าง Stablecoin ก่อนอื่นต้องกล่าวสั้น ๆ ว่าโดยปกติ Stablecoin นั้นจะมีอะไรบางอย่างคอยค้ำมูลค่าไว้ ไม่ว่าจะเป็นเงินสด ทรัพย์สินต่าง ๆ ซึ่งถูกค้ำไว้ในอัตรา 1 ต่อ 1 ทำให้มั่นใจว่าเป็นเหรียญที่มูลค่าไม่ผันผวนซึ่งอิงราคากับเงินดอลลาร์ กลับมาดูที่ Terra กันต่อ โดย Stablecoin ที่ Terra สร้างนั้นสำหรับนำมาใช้ใน E-commerce โดย Smart Contract บน Blockchain และ Stablecoin ในระบบนิเวศของ Terra นั้นมีเป้าหมายเพื่อนำเสนอ Next-eneration ของเงินดิจิทัล

          Terra ได้พยายามนำเสนอเงินดิจิทัลที่สามารถนำมาจับจ่ายใช้สอยได้ง่าย มีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่ต่ำและสามารถใช้จ่ายได้ทันที สิ่งเหล่านี้จึงมีประโยชน์สำหรับการทำธุรกรรมข้ามพรมแดน ทำให้เว็บไซต์ข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยี TechCrunch ได้ขนานนาม Terra ว่า “Alipay บน Blockchain” Terra นั้นได้ภูมิใจในการนำเสนอ Interface ใกล้เคียงกับแพลตฟอร์ม FinTech มากกว่าเครือข่าย Stablecoin ถึงแม้ว่าการทำงานภายในต่าง ๆ จะทำงานอยู่บนเทคโนโลยี Blockchain และสกุลดิจิทัลก็ตาม

          ตลาดของสกุลเงินดิจิทัลนั้นมีความผันผวนสูง ซึ่งทำให้ในที่สุดแล้วสกุลเงินดิจิทัลนั้นถูกขัดขวางในการใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนอันเนื่องมาจากสาเหตุนี้ คงไม่มีใครที่ต้องการจ่ายหนี้ของตัวเองด้วยเงินที่ในแต่ละวันมีมูลค่าผันผวนสูง 10-20% ซึ่ง Terra ได้ตั้งเป้าหมายที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยการสร้างระบบนิเวศของสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าคงที่เพื่อใช้ในการทำธุรกรรมทางดิจิทัลที่มีความรวดเร็วกว่า และถูกกว่า

          ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่า Terra คืออะไร และแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นในตลาด Stablecoin และ E-commerce อย่างไร

Terra คืออะไร?

          Terra นั้นได้เรียกตัวเองว่าเป็น Next-generation เครือข่ายการชำระเงินบน Blockchain ที่ได้ผสมผสานกับ Stablecoin และขับเคลื่อนโดยเหรียญประจำ Chain ของตัวเองซึ่งก็คือ เหรียญ LUNA ถ้าพูดถึงในแง่ของทางเทคนิคแล้ว Terra นั้นเป็น Layer-1 Blockchain Protocol ที่การทำงานของ Smart Contract นั้นจะทำงานโดยมุ่งเน้นไปยังการชำระเงินภายในระบบนิเวศ FinTech โดยใช้ Algorithmic Stablecoin ที่เป็น Stablecoin ที่ถูกรักษามูลค่าโดยการใช้อัลกอริทึมภายในนั้นในการชำระเงิน

          Terra ถูกก่อตั้งโดย Daniel Shin และ Do Kown เป็นผู้ก่อตั้ง Terraform Labs เป็นบริษัทในเกาหลีใต้ที่อยู่เบื้องหลังของระบบนิเวศของ Terra ในปี ค.ศ. 2018 โครงการนี้ได้เริ่มขึ้นหลังจากที่ Terraform Labs ได้รับเงินทุนจำนวน 32 ล้านดอลลาร์ โดยมีนักลงทุนอย่าง Binance Labs, OKEx, Huobi Capital และ Dunamu & Partners เป็นผู้ลงทุนหลัก และรวมไปถึง Upbit ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่มีต้นกำเนิดในกรุงโซล

          Terra blockchain ได้ปล่อย Whitepaper ออกมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 2019 ซึ่งได้เปิดตัวในเดือนเดียวกับการเปิดตัว Mainnet ของตัวเองเช่นกัน โดยในเอกสารได้อธิบายว่า Terra นั้นเป็น Price-Stable และ Growth-Driven Stablecoin ซึ่งสามารถรักษามูลค่าของเหรียญให้คงที่ผ่านอุปทานของเงินตรายืดหยุ่น ซึ่งสามารถดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนได้เพราะการขุดเหรียญออกมานั้นมีความมั่นคง รายรับที่ได้ไม่เหวี่ยงมากจนเกินไป โดย Protocol ยังได้ใช้ Seigniorage ซึ่งเป็นกำไรที่ได้จากการออกสกุลเงิน เพื่อกระตุ้นให้มีการทำธุรกรรมและอำนวยความสะดวกเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในวงกว้างได้

          Protocol ดังกล่าวยังได้ออกเหรียญ Stablecoin ของตัวเองโดยจะผูกมูลค่าเข้ากับ ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร หยวนจีน เยนญี่ปุ่น ปอนด์อังกฤษ วอนเกาหลีใต้ และยังมีเงินบาทไทยอีกด้วย รวมไปถึงสิทธิพิเศษถอนเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสินทรัพย์สำรองระหว่างประเทศที่เสริมการสำรองสกุลเงินของประเทศที่เป็นสมาชิกของผู้ให้กู้พหุภาคี ซึ่งทั้งนั้นถูกค้ำโดย เหรียญ LUNA โดย TerraSDR ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลหลักของ Terra และ เหรียญ Stablecoin หลักของ Terra นั้นก็คือ Terra USD (UST) มีเป้าหมายเพื่อเข้ามาลดความผันผวนของราคาของสกุลเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin และ Ethereum

          UST นั้นอย่างที่กล่าวมาเป็น Algorithmic Stablecoin ซึ่งมูลค่าไม่ได้ถูกค้ำโดยดอลลาร์สหรัฐ แต่โดยอัลกอริทึมของ Smart Contract และเหรียญ LUNA เท่านั้น แต่ในทางตรงกันข้าม Stablecoin อย่าง USDT ซึ่งเป็น Stablecoin ที่มูลค่าตลาดสูงสุด และผู้ให้บริการ USDT อย่าง Tether ได้กล่าวว่าเหรียญ USDT ทั้งหมดนั้นถูกค้ำโดยเงินดอลลาร์ในมูลค่าที่เท่ากัน แต่ในภายหลังได้พบว่า USDT ได้ถูกค้ำโดยสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น บัตรเงินฝาก ตั๋วเงินคลัง ซึ่งทำให้ Tether ถูกปรับเงินเป็นจำนวน 41 ล้านดอลลาร์ในข้อหาให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง หรือทำให้เข้าใจผิดและการละเว้นเนื้อหาบางส่วน

          อย่างไรก็ตาม Terraform Labs ได้หวังว่าฐานการเงินของ Token กับการกำกับดูแลการเงินที่ยืดหยุ่นของโปรโตคอลจะช่วยผลักดันให้เกิดการยอมรับกันอย่างกว้างขวางได้ โดยนโยบายการคลังของ Terra และระบบการใช้จ่ายได้รับการดูแลโดย Treasury นั้นดำเนินการในลักษณะที่คล้ายกับธนาคารกลาง โดยสมาชิกใน Community จะสามารถส่งข้อเสนอต่าง ๆ ให้แก่ Terra ข้อเสนอที่ส่งมาจะได้รับการตรวจสอบและโหวตโดยคนอื่น ๆ ใน Terra ข้อเสนอไหนได้รับการโหวตมากที่สุดก็จะได้รับอนุมัติ

Terra ทำงานอย่างไร?

          ให้ยกตัวอย่าง สมมติว่าเราต้องการซื้อตั๋วหนัง โดยเราสามารถซื้อตั๋วได้ผ่านทางแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า CHAI (ซึ่งเป็นหนึ่งใน Decentralized Apps หรือ dApps ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของ Terra) ในขั้นแรก เราจะต้องสร้าง Terra Stablecoin ของเราเองบนแอปพลิเคชันโดยการเบิร์นเหรียญ LUNA ในมูลค่าเท่า ๆ กัน เมื่อเรามี Stablecoin แล้วเราสามารถนำมาใช้ซื้อตั๋วผ่านช่องทางออนไลน์หรือร้านค้าผ่านทางแอปพลิเคชัน CHAI ได้

          เมื่อเราซื้อตั๋วด้วย Stablecoin ของเรา Blockchain ของ Terra จะสร้างค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมจำนวนหนึ่งซึ่งไม่มากแล้วแจกจ่ายให้กับ LUNA Delegator โดยผู้ถือเหรียญ LUNA เลือกที่จะ Delegate LUNA ของตัวเองไปยัง Staking Pool เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย

          Terra สร้างขึ้นบน Cosmos SDK และใช้การ Delegate แบบ Proof-of-stake (PoS) ที่สอดคล้องกับการรักษาความปลอดภัยโดย Decentralized Validator จะจ่ายค่าธุรกรรมเพื่อแลกกับ Reward โดย Validators และ Staker นั้นสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการลงความคิดเห็นของเครือข่าย โดยจะมีอำนาจในการลงคะแนนตามสัดส่วนการ Stake ซึ่งในปัจจุบันมี Validator ที่มีเหรียญ LUNA Stake มากที่สุด คอยดูแลรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายอยู่เป็นจำนวน 130 Validator

          Stablecoin ของ Terra นั้นเป็น Algorithmic Stablecoin ซึ่งหมายความว่า Protocol ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรักษาความมั่นคงของมูลค่าของเหรียญโดยใช้ Algorithm เช่น 1 UST มีมูลค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ และสามารถรักษามูลค่าให้คงที่ได้โดยใช้เหรียญ LUNA ได้

หากให้บอกกล่าวเพิ่มเติมคือ เมื่อ UST มีมูลค่าต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ คนก็จะเอา UST ไปเผาเป็น LUNA ที่ราคาเทียบเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ แล้วเอาไปขายทำกำไร เพราะจากกฎ UST 1 เหรียญจะได้ LUNA มูลค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐมา

          ในทางกลับกันหากเราต้องการ Mint Stablecoin ก็จำเป็นต้องเอา LUNA ในมูลค่าเท่ากันไปเผา โดยเหรียญ LUNA ส่วนหนึ่งที่ใช้ในการ Mint Stablecoin นั้นจะเรียกว่า Seigniorage ซึ่งจะถูกส่งไปเก็บใน Community Treasury ทำให้การ Mint Stablecoin สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับเครือข่ายได้ ซึ่งมีกระบวนการคล้ายกับกระบวนการในธนาคารที่ได้รับประโยชน์จากการพิมพ์เงินออกมา

          Algorithmic Stablecoin ถือเป็นประเภท Stablecoin ที่มีการโต้เถียงกันอย่างมาก ซึ่งอาจจะมีความผันผวนของราคาอย่างรุนแรง มูลค่าของ Algorithmic Stablecoin นั้นถูกคุ้มครองโดย Smart Contract Algorithm วิศวกรรมการเงิน และแรงจูงใจทางการตลาดของคนที่เข้าร่วมแต่ละคน ซึ่งในช่วงวิกฤตนั้นถือเป็นปัจจัยที่ได้พิสูจน์แล้วว่าไม่มีความน่าเชื่อถือ จากกรณีตัวอย่างอย่าง Iron Finance หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ IRON เป็น Algorithmic Stablecoin ที่ราคาได้ร่วงจาก 1 ดอลลาร์สหรัฐจนเหลือมูลค่าเกือบศูนย์ ทำให้มูลค่าทางตลาด 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหายไปในวันเดียว สาเหตุมาจากมีการออกแบบ Tokenomic ไม่ดี

LUNA เหรียญที่เป็น Native Token ของ Terra

          LUNA นั้นเป็น Native Token ของ Terra ใช้สำหรับ Staking, Governance และเป็นหลักประกันของ Algorithmic Stablecoin ของเครือข่าย โดยคนที่ถือเหรียญ LUNA สามารถ Stake เพื่อรับ Reward และใช้เพิ่มเสียงในการโหวต ข้อเสนอของ Governance สำหรับระบบนิเวศ LUNA นั้นมี Dynamic Supply อยู่ที่ 1 พันล้านเหรียญ และหากเหรียญ LUNA เกินจำนวนดังกล่าวก็จะถูกเผาโดยอัตโนมัติโดย Protocol

          ปัจจุบัน LUNA สกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าทางตลาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ณ เวลาที่กำลังเขียนบทความอยู่ที่ 34,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีราคาเหรียญละ 93.24 ดอลลาร์ เหรียญ LUNA นั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อกลไกการค้ำประกันของระบบนิเวศเพื่อทำให้มั่นใจว่ามูลค่าของ Terra Stablecoin มีความมั่นคง ซึ่งก็คือเหตุผลที่ LUNA ได้รับการออกแบบให้มี Dynamic Supply ซึ่งความผันผวนของมูลค่าขึ้นอยู่กับ Collateralization Algorithm ของ Protocol

          สรุป LUNA มีหน้าที่เพื่อทำให้ Terra Stablecoin มีมูลค่าเสถียร และในทำนองเดียวกัน Protocol ตั้งใจที่มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันเปรียบกับระหว่างโลกและดวงจันทร์ ซึ่งทั้งสองยังคงรักษาแรงโน้มถ่วงและการโคจรซึ่งกันและกัน

          ตามที่กล่าวไว้ในข้างต้น เหรียญของ Terra แต่ละเหรียญนั้นจะถูก Peg มูลค่าไว้กับสกุลเงิน Fiat เช่น Crypto Collateralized และ Algorithmic Stablecoin โดย Stablecoin แรกที่ Terra ได้ออกมาคือ TerraKRW (KRT) ซึ่งเป็น Stablecoin ที่ Peg ค่าเงินวอนของเกาหลีใต้ และยังมีส่วนอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ TerraUSD (UST), TerraJPY, TerraCNY, TerraEUR, TerraGBP, TerraSDR และ TerraTHT

ความสำเร็จของ Terra

          ตามที่ผู้ก่อตั้ง Terra ได้กล่าวไว้ว่า Terra นั้นได้สร้างระบบที่มี Block Time โดยเฉลี่ย 6 วินาที ธุรกรรมทั้งหมดบนเครือข่าย Terra จ่ายค่า Gas Fee ตามขั้นต่ำที่ Validator แต่ละคนกำหนด สำหรับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Stablecoin จะมีการคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมนอกจาก Gas Fee เพื่อรักษาความคงของมูลค่าและขัดขวางการเก็งกำไรของเหรียญ โดยค่าธรรมเนียมของ Stablecoin ส่วนใหญ่ที่พบได้บ่อยที่สุด คือ Stability Fee ซึ่งถูกเก็บจากการทำธุรกรรมของ Stablecoin ที่เป็น Non Market ค่าธรรมเนียมที่จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 0.1% – 1% ต่อ Hard cap ที่ 1 TerraSDT โดย Spread fee เป็น Market Swap ที่เกี่ยวข้องกับ Stablecoin และ LUNA ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำจะอยู่ที่ 0.5% และอาจจะขึ้นอยู่กับความผันผวนของตลาด สำหรับ Market Swap ระหว่าง Stablecoin จะมีการคิด Tobin Tax โดยถูกใช้โดย On-chain Governance ซึ่งใน Market Swap จะต้องจ่ายภาษีอยู่ที่ 0.35% และบางครั้งคู่เหรียญ Stablecoin อาจจะต้องจ่ายถึง 2%

          แอปพลิเคชันชำระเงิน CHAI ของ Terra เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ โดยจะให้ความรู้สึกเหมือนกับการใช้แอปพลิเคชันชำระเงินที่เราใช้ ๆ กันอยู่

          ความสามารถในการทำงานกับระบบอื่น ๆ นั้นถูกแก้ไขด้วย Terra Bridge ซึ่งเป็นระบบ Cross Chain ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการโอนสินทรัพย์ระหว่าง Terra, Binance Smart Chain และ Ethereum ในตอนนี้มีนักพัฒนากำลังทำระบบข้าม Chain เพื่อนำ Terra Stablecoin ไปสู่ Solana

          Mirror และ Anchor ยังเป็นอีกสองโครงการที่เพิ่มเข้าไปในระบบนิเวศของ Terra โดย Mirror Finance ได้ให้ผู้ใช้ Mint สินทรัพย์ชื่อว่า mAssets ที่ Peg กับราคาหุ้น ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ผู้ที่ถือ UST สามารถเข้าถึงหุ้นต่าง ๆ ได้ Shuttle Bridge ของ Mirror นั้นยังได้เปิดใช้งานการ Swap mAsset บนเครือข่าย Ethereum ซึ่งช่วยให้ระบบนิเวศสามารถทำงานร่วมกันกับระบบอื่น ๆ ได้มากขึ้น

          Anchor Protocol เป็นแพลตฟอร์มสกุลเงินดิจิทัลที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงอัตราดอกเบี้ยที่มีความมั่นคงได้ โดยสกุลเงินดิจิทัลนั้นจะถูกฝากบน Protocol อัตโนมัติไปยังเครือข่าย Proof of Stake Blockchain โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องค้นหา Liquidity Pool เอง

ความน่ากังวลเกี่ยวกับ Terra

          DeFi เป็นอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อน และยังไม่มีแพลตฟอร์มไหนที่สมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะโครงการที่เกิดขึ้นในระยะแรก ๆ เช่น Terra ซึ่ง Terra มีพื้นฐานที่ค่อนข้างครอบคลุมและสามารถไล่ตามกลุ่ม DeFi อันดับต้น ๆ ได้ เช่น Ethereum และ Binance Smart Chain (ในขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ ยอด Total Value Locked ของ Terra แซง Binance Smart Chain ขึ้นไปอยู่อันดับที่ 2 แล้ว) Terra Stablecoin ก็กำลังค่อย ๆ ไล่ตามผู้นำ Stablecoin ในตลาดอย่าง USDT จาก Tether ซึ่งเป็น Stablecoin ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้

          คำวิจารณ์เบื้องต้นของ Terra ในหมู่ Blockchain Purist ว่ามีความเป็น Decentralized น้อยกว่าเครือข่ายอื่น ๆ โดยมี Validator ทั้งหมด 130 Validator ซึ่งต่างจาก Ethereum ที่มี Validator เป็นจำนวน 3,038 Validator และยังมีความกังวลอีกอย่างเกี่ยวกับการกระจายอำนาจของเครือข่าย เพราะ Validator 10 อันดับแรกในปัจจุบันนั้นได้ถือ LUNA อยู่เป็นจำนวน 40% จากทั้งหมด

          สุดท้ายนี้ Terraform Labs ได้รับหมายเรียกที่เกี่ยวข้องกับ Mirror protocol จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายหลักทรัพย์ เช่น การดำเนินการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์โดยไม่ได้จดทะเบียนและการขายหลักทรัพย์ให้แก่กลุ่มคนข้างนอกโดยไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Zoltan Vardai (2021) Is Terra — whose LUNA coin is now at another all-time high — really where the smart money is?, Available at: https://forkast.news/what-is-terra-luna-stablecoin/ (Accessed: 21st December 2021).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *