มาดูกันว่า Polygon (MATIC) คืออะไร? เหรียญ MATIC ใช้ทำอะไรบ้าง?

Polygon

          สวัสดีครับ Roadmap สำหรับการปรับ Scale ของ Ethereum ที่รอคอยมานานในที่สุดก็มาถึงในจุดที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ๆ ซึ่งโครงการที่มีชื่อว่า Polygon ก็มีส่วนร่วมในสิ่งนี้ด้วย

          เราอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ Cosmos และคำว่า Internet of Blockchain ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของ Cosmos ผ่านทาง Inter-Blockchain Communication Protocol (IBC) ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ สามารถเดินทางผ่านระหว่าง Blockchain อื่น ๆ ที่ใช้โปรโตคอลนี้ได้

          Polygon นั้นก็มีวิสัยทัศน์ที่คล้าย ๆ กัน แต่ Polygon ก็ได้ปรับปรุงแนวคิดนี้ให้เหมาะสมโดยเฉพาะสำหรับระบบนิเวศของ Ethereum โดยแนวคิดที่ว่าก็คือนักพัฒนาสามารถเปิดตัววิธีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปรับขนาดที่มีความสามารถเข้ากันได้ของ Ethereum หรือกระทั่ง Blockchain แบบ Stand Alone ได้อย่างง่ายดาย

          โดยโครงการนี้เริ่มต้นในชื่อ Matic Network แต่ต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็น Polygon เมื่อโครงการได้ขยายขอบเขตของงานให้กว้างขึ้นจาก Layer 2 (L2) Solution ไปเป็น Network of Network

Polygon (MATIC) คืออะไร

          Polygon เป็น Framework สำหรับการสร้างเครือข่าย Blockchain ที่สามารถเข้ากันได้กับ Ethereum และการแก้ปัญหาการปรับขนาดของเครือข่าย Polygon เป็น Protocol มากกว่าวิธีการแก้ปัญหาเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นเหตุผลอีกหนึ่งข้อที่เป็นข้อเสนอหลักของระบบนิเวศก็คือ Polygon SDK ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างเครือข่ายที่สามารถทำงานร่วมกับ Ethereum ได้

          อย่างไรก็ตาม เราอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ Polygon Network, Proof of Stake (PoS) และหนึ่งในผลิตภัณฑ์ตัวแรกในระบบนิเวศของ Polygon นั้นก็คือ Sidechain ซึ่งเป็น Chain คู่ขนานที่เชื่อมต่อกับ Blockchain อื่น ๆ

          Sidechain นั้นสามารถให้ประโยชน์ได้หลายอย่าง โดยที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือรองรับปริมาณการทำธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นและมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ หากเราเคยใช้ Polygon Network เราจะรู้เลยว่าการทำธุรกรรมนั้นเร็วมากและมีค่า Gas ต่ำมากเมื่อเทียบกับ Ethereum ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังมีสิ่งที่ต้องแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้

          Polygon นั้นรองรับ Ethereum Virtual Machine (EVM) ทำให้แอปพลิเคชันที่มีอยู่นั้นสามารถย้ายมาที่ Polygon ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทำให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ เหมือนกับที่ได้รับบน Ethereum สิ่งที่แตกต่างกันก็คือรองรับปริมาณการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นและมีค่าธรรมเนียมต่ำกว่าอย่างที่กล่าวไปในก่อนหน้านี้

          แต่ใน Polygon เราสามารถทำอะไรได้บ้าง? ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าแปลกใจเพราะ Polygon นั้นคล้ายกับ Ethereum แต่ถูกและเร็วกว่า ซึ่ง DeFi ที่ได้รับความนิยมบางส่วนนั้นก็ได้นำมาอยู่บน Polygon เช่น Aave, 1inch, Curve และ Sushi แต่ก็ยังมีแอปพลิเคชันดั้งเดิมที่อยู่เฉพาะบน Polygon เช่น QuickSwap และ Slingshot

Polygon founder

Image from Polygon

          Polygon ได้เปิดตัวในปี ค.ศ. 2019 ซึ่งก่อตั้งโดยทีมนักพัฒนา Blockchain Jaynti Kanani, Sandeep Nailwal และที่ปรึกษาทางธุรกิจ Anurag Arjun โดยทั้งสามคนได้ร่วมกันเปิดตัวโครงการชื่อ MATIC ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Polygon

          การตั้งชื่อแบบนี้อาจจะทำให้ใครหลาย ๆ คนเกิดความสับสนเพราะ MATIC นั้นยังคงเป็นชื่อเหรียญอยู่ โดยทั้งสามคนได้มีส่วนร่วมกับบริษัทที่เกี่ยวข้องการเทคโนโลยีมาก่อน ก่อนที่จะมาเข้าสู่วงการสกุลเงินดิจิทัล และหลังจากที่ได้ก่อตั้งเครือข่าย Polygon ทีมงานก็เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ในระบบนิเวศของ Ethereum และทางทีมงานก็ได้นำ Plasma MVP, โปรโตคอล WalletConnect และ Dagger ถึงเป็นระบบแจ้งเตือนเหตุการณ์ที่เป็นที่รู้จักกันดีบนโปรโตคอล Ethereum

Polygon ทำงานอย่างไร

          Polygon นั้นรองรับเครือข่ายที่สามารถทำงานร่วมกันกับ Ethereum ได้สองประเภทซึ่งก็คือการรักษาความปลอดภัยของ Chain และ Stand Alone Chain ตัวอย่างของการรักษาความปลอดภัยของ Chain คือการ Rollup ในขณะที่ Stand Alone Chain ก็คือ Sidechain

          การรักษาความปลอดภัยของ Chain นั้นได้พึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานของ Chain อื่นที่ได้เชื่อมต่ออยู่ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้รูปแบบการรักษาความปลอดภัยของตัวเอง ในทางกลับกัน Stand Alone Chain ต้องใช้ระบบรักษาความปลอดภัยของตนเอง หมายความว่าการรักษาความปลอดภัยของ Chain นั้นมีแนวโน้มที่จะให้ความปลอดภัยมากกว่า ในขณะที่ Stand Alone Chain นั้นสำหรับความต้องการโดยเฉพาะบางอย่างที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

          Polygon Sidechain ได้มีการรักษาความปลอดภัยโดยมีกลุ่ม Validator ของตัวเอง ซึ่งต้องส่ง checkpoint ให้แก่ Ethereum เป็นครั้งคราว ทำให้เป็นเหตุผลที่บางคนบอกว่า Sidechain ไม่ใช่ Layer 2 solution ที่แท้จริง โดยพวกเขาต้องดูแลความปลอดภัยของตัวเองแทนที่จะใช้ประโยชน์จากระบบความปลอดภัยของ Ethereum

          ในอนาคต แพลตฟอร์ม Polygon มีเป้าหมายในการสนับสนุนวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวข้องกับการปรับขนาดเครือข่ายที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมไปถึง Zero-Knowledge (ZK) Rollup, Optimistic Rollup และ Validum Chain เมื่อมีวิธีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปรับขนาดมากขึ้น นักพัฒนาจะมีเครื่องมือในการพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชัน วิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ นอกจากนี้ เรายังสามารถคาดหวังว่าสิ่งเหล่านี้สามารถเข้ากันได้กับเครื่องมือที่มีอยู่แล้วใน Ethereum และกระเป๋าสกุลเงินดิจิทัล เช่น MetaMask

เหรียญ MATIC คืออะไร

          ในขณะที่Polygon ได้ค่อย ๆ ขยายวิสัยทัศน์ของตัวเองโดยเริ่มต้นจากการเปลี่ยนชื่อเครือข่าย Matic เป็น Polygon แต่ยังคงรักษาชื่อเหรียญ MATIC เอาไว้

Use Case ของเหรียญ MATIC

          เหรียญ MATIC ได้นำมาถูกใช้ในระบบนิเวศของ Polygon ด้วยเหตุผลหลายประการ ซึ่งรวมไปถึงการมีส่วนร่วมในเครือข่ายโดยการโหวต Governance บน Polygon Improvement Proposals (PIPs) และมีส่วนร่วมในการรักษาความปลอดภัยโดยการ Stake เหรียญ MATIC และการจ่ายค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม

Polygon Bridge

          Polygon Bridge เป็นวิธีที่สะดวกที่สุดในการนำสกุลเงินดิจิทัลของเราจาก Blockchain อื่นเข้ามายัง Polygon Sidechain แต่เรายังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมรวมไปถึงค่าธรรมเนียมในการ Bridge

          เมื่อเรา Bridge เสร็จแล้ว เราสามารถเริ่มต้นกับ Polygon ได้ทันที แต่ Centralized Exchange (CEX) บางที่ก็ได้เสนอบริการในการถอนเงินจาก Exchange ไปยังเครือข่าย Polygon โดยตรง

Sidechain กับ Rollup

          โดยทั่วไปแล้วยังไม่มีความเห็นที่ตรงกันว่า Sidechain สามารถเรียกได้ว่าเป็น Layer 2 Solution ในลักษณะเดียวกับ Rollup ได้หรือไม่ ซึ่งสิ่งสำคัญก็คือเราต้องทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างสองอย่างนี้ถ้าเราจะต้องการที่จะเริ่มเข้าสู่โลกของ Multi-Chain

          ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นล้วนมีสมมติฐานที่น่าเชื่อถือ ความปลอดภัย ประสิทธิภาพ ประสบการณ์ของผู้ใช้และนักพัฒนาที่แตกต่างกัน ในฐานะที่เป็น Chain ที่มีความปลอดภัย การ Rollup เป็นสิ่งที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในการแก้ปัญหาการขยายขนาดของ Layer 2 เพราะระบบความปลอดภัยส่วนใหญ่นั้นได้มาจาก Ethereum

          อย่างไรก็ตาม นั้นยังไม่ใช่กรณีสำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาอื่น ๆ เช่น Polygon Sidechain นั้นไม่ได้หมายความว่าไม่ปลอดภัย แต่ถ้าเกิดมีผู้ประสงค์ร้ายพวกเขาก็สามารถเข้าควบคุมเครือข่ายได้อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี ถึงแม้ว่าเจตนาเหล่านี้อาจจะไม่เกิดขึ้นแต่ก็ควรที่จะรับรู้ไว้ การใช้ Sidechain เกี่ยวกับกับการไว้วางใจ ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Validator ของเครือข่ายเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการ Bridge ระหว่าง Chain 2 Chain ด้วย

          นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการได้อย่างเสียอย่าง เมื่อเราใช้ ETH mainnet เราจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่สูงแต่ระยะเวลาในการทำธุรกรรมที่ช้าลง

          หากเราใช้การ Rollup เราจะจ่ายน้อยลง แต่ได้รับความปลอดภัยเทียบเท่ากับเครือข่าย Ethereum และสามารถทำธุรกรรมได้เร็วกว่า แต่เมื่อเราใช้ Sidechain เงินที่เราจ่ายออกไปนั้นเป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวเท่านั้น แต่ก็ต้องแลกมากับเรื่องของความปลอดภัยที่น้อยลง

          อาจจะยากไปสักหน่อยที่จะสรุปว่าอันไหนดีกว่ากัน แต่ละอันนั้นดีกันไปใน Use Case แต่ละแบบ และอาจจะนำมาใช้ร่วมกันได้ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ระบบนิเวศได้มากยิ่งขึ้น

          ตัวอย่างเช่น ระบบชื่อเสียงของโซเชียลมีเดียนั้นต้องการการรองรับปริมาณการทำธุรกรรมที่สูงมาก และค่าธรรมเนียมที่ต่ำมาก แต่ก็อาจจะไม่ได้รับประกันในเรื่องของความปลอดภัย เนื่องจากไม่ใช่ส่วนสำคัญของโครงสร้างพื้นฐาน ในกรณีนี้การแลกความปลอดภัยกับประสิทธิภาพอาจจะคุ้มค่ามากกว่า

          ในทางกลับกัน การเก็บ Treasury ของรัฐชาติบน Blockchain นั้นต้องการความปลอดภัยในระดับสูงเท่าที่จะทำได้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่าสำหรับความปลอดภัยในระดับนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ต้องการการทำธุรกรรมที่รวดเร็วมาก

          นักพัฒนาและทีมงานของโครงการกำลังทดลองและค้นคว้าว่าการสร้าง Block แต่ละแบบนั้นสามารถรวมเข้ากับภาพใหญ่ได้อย่างไร ซึ่งควรพิจารณาเกี่ยวกับวิธีการในการปรับขนาดในหลาย ๆ Use Case ที่แตกต่างกันมากมายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Binance Academy (2021) What Is Polygon (MATIC)?, Available at: https://academy.binance.com/en/articles/what-is-polygon-matic (Accessed: 3rd January 2022).

อ้างอิงจาก EDUCATIONAL (2021) What is Polygon (Matic)?, Available at: https://swissborg.com/blog/what-is-polygon (Accessed: 3rd January 2022).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *