มาดูกันว่า Financial Analysis เป็นอย่างไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

         

สวัสดีครับ การเงินเป็นภาษาที่ธุรกิจต่าง ๆ ใช้สื่อสารกัน ความเข้าใจและการจัดการธุรกิจคือความสามารถในทางการเงิน หมายความว่าคือความสามารถในการอ่านและทำความเข้าใจข้อมูลทางการเงิน และยังสามารถแสดงข้อมูลต่าง ๆ ผ่านทางรายงานทางการเงินได้ ความสามารถในการเข้าใจข้อมูลทางการเงินนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้จัดการธุรกิจ เป้าหมายของธุรกิจทั้งหมดนั้นถูกกำหนดให้อยู่ในเงื่อนไขทางการเงิน โดยผลลัพธ์ต่าง ๆ จะถูกวัดในมุมมองของทางการเงินด้วย

          การเงินยังรวมไปถึงการตรวจสอบข้อมูลที่แนบมาในงบการเงินโดยมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการช่วยเรื่องของการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร ทำให้ Financial Analysis หรือการวิเคราะห์ทางการเงินมีบทบาทสำคัญอย่างหนึ่งของบทบาททางการเงินโดยรวม มีข้อมูลมากมายที่อยู่ในบัญชีทางการเงินและสเตทเมนต์ของบริษัท การทำความเข้าใจความหมายทั้งหมดที่อยู่ในนั้นเป็นหัวใจสำคัญของ Financial Analysis ซึ่งในบทความนี้เราจะมาดูถึงเรื่องนี้กัน

Financial Analysis คืออะไร

          Financial Analysis ถูกใช้เพื่อหาเสถียรภาพระบบการเงิน ประเมินแนวโน้มของเศรษฐกิจ กำหนดนโยบายทางการเงินในระยะยาว และการประเมินค่าธุรกิจเพื่อกำหนดวิธีการทำกำไร ความยั่งยืน และความแข็งแกร่งของศักยภาพในการสร้างรายได้

          เนื่องจากการวิเคราะห์รายงานทางการเงินยังหมายถึงการทำความเข้าใจในการทำงานของการตัดสินใจทางธุรกิจซึ่งรวมไปถึงการสังเกต การประเมิน การคาดการณ์ และการกำหนดกระบวนการวินิจฉัยทั้งหมดที่เกิดขึ้นในองค์กรซึ่งจะสรุปไว้ในงบการเงิน

          Financial Analysis ยังเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมด เนื่องจากจะช่วยให้เข้าใจถึงศักยภาพและความพร้อมขององค์กรในอนาคต นอกจากการให้ข้อมูลที่จำเป็นที่อาจจะส่งผลต่อราคาหุ้นหรืออัตราดอกเบี้ยแก่ผู้ให้ยืมและนักลงทุน ข้อมูลที่ว่านี้ยังช่วยให้ผู้จัดการบริษัทสามารถวัดผลการปฏิบัติงานในด้านของความคาดหวังหรือการเติบโตของอุตสาหกรรมได้

          จากมุมมองของฝ่ายบริหาร Financial Analysis เป็นส่วนสำคัญสำหรับความก้าวหน้าของบริษัท เนื่องจากช่วยให้เข้าใจถึงจุดแข็งและจุดอ่อนต่อความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมได้

          โดยทั่วไปมีหลายวิธีในการวิเคราะห์ของมูลทางการเงิน เช่น การคำนวณอัตราส่วนจากงบการเงิน และการเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินกับข้อมูลขององค์กรหรือบริษัทที่เป็นคู่แข่งในอดีต

ประเภทของ Financial Analysis

          Financial Analysis มีสองประเภทได้แก่

  1. Fundamental Analysis

Fundamental Analysis ช่วยให้เรามองเห็นมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทโดยพิจารณาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเงินที่เกี่ยวข้อง โดยปกตินักวิเคราะห์จะใช้วิธีนี้ในการประเมินปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อมูลค่าของหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านเศรษฐกิจระดับมหาภาค เช่น นโยบายของรัฐ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนอุตสาหกรรมเฉพาะไปจนถึงปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ระดับจุลภาค เช่น การบริหารของบริษัท

  • Fundamental Analysis เป็นวิธีที่ทำให้เราสามารถเชื่อมั่นในเอกลักษณ์ของบริษัทสำหรับการลงทุนในระยะยาวและการสร้างความมั่งคั่ง
  • นักวิเคราะห์มักจะชอบใช้วิธีนี้ในการค้นหาหุ้นที่กำลังซื้อหรือขายในราคาที่ต่ำหรือสูงเกินไป จากนั้นค่อยตัดสินใจเลือกมูลค่าตลาดของหุ้นเหล่านั้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจของนักลงทุน

ตัวอย่างเช่น หากหุ้นที่ซื้อขายสูงกว่ามูลค่าตลาดหมายความว่าหุ้นนั้นมีมูลค่าในตลาดปัจจุบันสูงเกินไป นักวิเคราะห์ก็จะแนะนำให้ขายหุ้นเหล่านี้

ประเภทของ Fundamental Analysis

          ประเภทของ Fundamental Analysis สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ

  1. Qualitative analysis เป็นการวิเคราะห์ที่รวมไปถึงคุณภาพของผู้บริหารของบริษัท วิสัยทัศน์ การรับรู้ถึงแบรนด์ สิทธิบัตร ข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์ และเทคโนโลยี โดยปกติแล้วจะเกี่ยวข้องกับลักษณะการประกอบธุรกิจและมาตรฐานขององค์กรมากกว่าปริมาณ
  2. Quantitative analysis เป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณของงบการเงินที่ใช้เพื่อทำความเข้าใจผลการดำเนินงานของบริษัทให้ดีขึ้นก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โดยงบการเงินที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด

2. Technical Analysis

ในทางกลับกัน Technical Analysis นักวิเคราะห์จะประเมินในการลงทุนโดยการวิเคราะห์แนวโน้มทางสถิติที่ผ่านมา เช่น ปริมาณการซื้อขายและราคา นักวิเคราะห์ทางเทคนิคจะถือว่าราคาของหุ้นมีแนวโน้มที่จะเป็นไปตามแนวโน้มที่ผ่านมามากกว่าจะมีแนวโน้มการเคลื่อนไหวของปริมาณการซื้อขายและราคาผิดปกติ

ในตลาดหุ้นทุกอย่างจะเกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการตลาดหรืออารมณ์ของตลาด นักวิเคราะห์ทางเทคนิคจะใช้แผนภูมิข้อมูลที่ผ่านมาเพื่อวิเคราะห์อารมณ์และความผันผวนของตลาดเพื่อทำความเข้าใจกับแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับหุ้นให้ดีขึ้น นักวิเคราะห์ทางเทคนิคเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วจะเกิดขึ้นอีกครั้ง และจะเข้าใจโอกาสในการลงทุนได้ดีขึ้นหากเราเข้าใจรูปแบบหรือแนวโน้มที่เกิดขึ้นในอดีต

Financial Analysis นำมาใช้อย่างไร

Corporate Financial Analysis

          การวิเคราะห์โดยนักวิเคราะห์ทางการเงินภายในของบริษัท เช่น แผนกบัญชี จากนั้นจึงเผยแพร่รายงานการวิเคราะห์กับฝ่ายบริหารเพื่อเพิ่มการตัดสินใจที่ดีขึ้น การวิเคราะห์นี้รวมไปถึงอัตราส่วนต่าง ๆ เช่น มูลค่าปัจจุบันสุทธิ และอัตราผลตอบแทนภายใน

Investment Financial Analysis

          การวิเคราะห์โดยนักวิเคราะห์ทางการเงินภายนอกจะวิเคราะห์ธุรกิจโดยมีจุดประสงค์เพื่อการลงทุน โดยปกตินักวิเคราะห์จะดำเนินการสองแนวทางหลัก ๆ คือ จากบนลงล่างหรือจากล่างขึ้นบน

          ในการวิเคราะห์จากบนลงล่างได้นำแนวทางเศรษฐศาสตร์มหภาคมาพิจารณาก่อนการลงทุนเช่นว่าในภาคส่วนใดมีศักยภาพในการเจริญเติบโตบ้าง หลังจากนั้นจึงวิเคราะห์ถึงบริษัทที่มีศักยภาพที่ดีที่สุด

          ในการวิเคราะห์จากล่างขึ้นบนนักวิเคราะห์จะพิจารณาตามแนวทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคโดยเริ่มต้นจากบริษัทบางบริษัทแบบเฉพาะเจาะจงจากนั้นวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินแบบเดียวกับCorporate Financial Analysis

องค์ประกอบสำคัญของ Financial Analysis

งบกำไรขาดทุน

          โดยทั่วไปงบกำไรขาดทุนจะแสดงผลการดำเนินงานของบริษัทในเรื่องของกำไรทางการเงินหรือผลกำไรของธุรกิจในช่วงระยะเวลาที่กำหนด นักวิเคราะห์จะใช้รายงานนี้เพื่อคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัทและกระแสเงินสดในอนาคตของธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้น

งบดุล

          งบดุลเป็นงบการเงินที่แสดงถึงสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัท ยังแสดงถึงสิ่งที่บริษัทเป็นเจ้าของและเป็นหนี้ รวมไปถึงจำนวนเงินที่นักลงทุนหรือผู้ถือหุ้นลงทุน

          ตามการวิเคราะห์งบดุลหากสินทรัพย์นั้นง่ายต่อการแปลงเป็นเงินสดภายในหนึ่งปีหรือน้อยกว่านั้น สินทรัพย์นั้นจะถูกนับเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น เงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงเหลือก็ถือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเช่นกัน หากสินทรัพย์ที่ไม่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ภายในหนึ่งปีให้ถือเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น ที่ดิน เครื่องจักร เครื่องมือ ทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนของบริษัท

          หนี้สินหมายถึงเงินที่บริษัทเป็นหนี้กับบุคคลภายนอก คำจำกัดความของหนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียนนั้นคือ หนี้สินหมุนเวียนต้องชำระภายในระยะเวลาหนึ่งปีหรือน้อยกว่าที่ระบุไว้ในวันครบกำหนด เช่น ดอกเบี้ยค้างจ่าย ค่าจ้างค้างจ่าย ค่าเช่า เงินปันผล เจ้าหนี้การค้า ส่วนหนี้สินไม่หมุนเวียนเมื่อถึงกำหนดชำระและต้องชำระหลังจากนั้นหนึ่งปี เช่น หนี้สินระยะยาว หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี เป็นต้น

งบกระแสเงินสด

          งบกระแสเงินสดในรายงานของบริษัทใด ๆ นั้นหมายถึงเงินสดรับเข้าและออกทุกประเภทที่บริษัทได้รับจากการดำเนินงาน รายได้จากการลงทุนภายนอกที่จะใช้สำหรับกิจกรรมทางธุรกิจหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องและรวมไปถึงการลงทุนอื่น ๆ

          สำหรับนักลงทุนแล้วเป็นงบที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นการบอกเกี่ยวกับเงินสดที่ธุรกิจได้จากแหล่งต่าง ๆ โดยปกติเงินสดรับมีสามวิธี ได้แก่ จากการดำเนินงาน การลงทุน และการจัดหาเงินทุน โดยทั้งหมดที่กล่าวมาเรียกว่ากระแสเงินสดสุทธิ

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Dinesh Kumawat (2020) An Introduction to Financial Analysis, Available at: https://www.analyticssteps.com/blogs/introduction-financial-analysis Accessed: 10th November 2021).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *